Eng
ไทย
เกี่ยวกับมูลนิธิ
หลักการและจรรยาบรรณ
ราคาประเมินค่าก่อสร้าง
บทความความรู้ข้อแนะนำ
เว็บบอร์ด
ติดต่อมูลนิธิ
การประเมินห้องชุด (คอนโดฯ) ด้วยตัวเอง
 
อ.วสันต์ คงจันทร์
กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

          ถ้าพิจารณาตามหลักการของ 3 วิธีการประเมินแล้ว การประเมินห้องชุดควรจะประเมินด้วย วิธีการเปรียบเทียบราคาตลาด (Market Comparison Approach) เป็นสำคัญ ด้วยเหตุผลตามหลักการของวิธีการนี้ที่ว่า "มูลค่าของทรัพย์สินของเราควรเท่ากับราคาของทรัพย์สินอื่นที่เหมือน ๆ กัน หรือคล้ายกันที่คนอื่นขายได้" เนื่องจากปกติแล้ว อาคารชุดหนึ่ง ๆ จะมีจำนวนห้องชุดอยู่หลายสิบหรือเป็นร้อยหน่วย ซึ่งทำให้เราสามารถสืบหาข้อมูลการซื้อขายมาวิเคราะห์ได้เพียงพอ ตามหลักการของวิธีการนี้ได้

          นอกจากนี้การประเมินห้องชุด อาจทำการประเมินด้วยวิธีการแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)ได้ด้วย ถ้าสามารถสืบหาข้อมูลการเช่า มาวิเคราะห์มูลค่าจากค่าเช่าได้เช่นกัน
ขั้นตอนการประเมิน
1.
ทำการสำรวจห้องชุดของเรา (ที่จะประเมิน) ว่ามีสภาพเป็นอย่างไรบ้าง ดังนี้
 
»
ุรายละเอียดห้องชุด ได้แก่ เนื้อที่ห้องชุด แบบห้องชุด ขนาดห้องนอน ห้องน้ำ คุณภาพวัสดุภายใน การตบแต่ง การดูแลรักษา อายุการใช้งาน ตั้งอยู่บนชั้นไหน
 
»
ุ สภาพอาคารชุด ว่าเป็นอาคารชุดระดับราคาใด ความสูงกี่ชั้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้าง มีลิฟต์กี่ชุด มีสระว่ายน้ำ มีเฃาว์น่า หรืออื่น ๆ หรือไม่ และประเด็นสำคัญ คือ ภายในอาคารชุดมีการเข้าอยู่มากน้อยเพียงใด เนื่องจากอาคารชุดถ้ามีการเข้าอยู่น้อยจะมีผลโดยรวมต่อการดูแลรักษาอาคารชุด เนื่องจากมักจะไม่มีการชำระค่าส่วนกลางในการดูแลอาคารชุด ทำให้เสื่อมโทรมเร็ว และส่งผลต่อราคาจะตกลงและสภาพคล่อง (ขายยาก) ต่ำไปด้วย
   
2.
จากนั้นการสืบหาข้อมูลตลาดการซื้อขายห้องชุด เพื่อมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยต้องพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อราคาควบคู่กันไปเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบประเมิน
 
»
ุข้อมูลภายในอาคารชุดเดียวกัน หรือโครงการเดียวกัน : โดยต้องพิจารณาว่ามีปัจจัยใดบ้าง ที่มีผลต่อราคาหรือทำให้ราคาแตกต่างกัน เช่น ขนาด การตบแต่งภายใน ความแตกต่างตามชั้น ความแตกต่างตามแบบ (แม้ว่าตามหลักการแล้วควรหาข้อมูลที่มีสภาพต่าง ๆ คล้ายคลึงกัน ถ้าเหมือนกันหมดได้ยิ่งดี แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ก็จะมีความแตกต่างในรายละเอียดอยู่ดี)
 
»
ุข้อมูลอาคารชุดอื่น เพื่อเปรียบเทียบในภาพกว้าง : การเปรียบเทียบกับอาคารชุดอื่น ในบริเวณใกล้เคียง โดยพิจารณาที่มีระดับใกล้เคียงกัน หรือคู่แข่งกันได้ โดยประเด็นหลักที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อราคา คือ ทำเลที่ตั้ง การเข้าออก ระดับโครงการ สิงอำนวยความสะดวก อัตราการเข้าอยู่อาศัย การดูแลรักษา เป็นต้น
   
3.
จำนวนข้อมูลตลาด ในโครงการเดียวกันก็ไม่ควรจะน้อยกว่า 5 ข้อมูล ส่วนข้อมูลโครงการอื่น ๆ แล้วแต่ว่าจะมีโครงการอื่นมากน้อยเพียงใดในบริเวณใกล้เคียง โดยจำนวนอาจพิจารณาตามความจำเป็น แต่การสำรวจโครงการอื่น ๆ ถ้าสำรวจมาเป็นภาพรวมทั้งโครงการได้จะดีกว่าการไปสำรวจเป็นหน่วย ๆ จะใช้ในการวิเคราะห์ราคารวมเป็นภาพกว้างในเชิงคู่แข่ง
   
4.
จากนั้นถึงขั้นตอนที่ต้องทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกันแล้ว โดยจะต้องพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อราคาอย่างละเอียด ว่ามีอะไรบ้าง
 
»
ุอาคารชุดระดับราคาถูก จะมีปัจจัยหลัก ๆ ส่วนใหญ่ในเรื่อง การต่อรอง ความแตกต่างตามชั้น (มีลิฟต์ หรือไม่มี ถ้ามีชั้นบนราคาถูกกว่า ถ้ามีลิฟต์ ชั้นบน ราคาสูงกว่า) และสภาพภายในห้องชุด วัสดุปูพื้น มีตบแต่งเพิ่มหรือไม่ แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการตบแต่งกันมากนัก
 
»
ุอาคารชุดระดับราคาแพง จะมีปัจจัยในการพิจารณามากขึ้น จะมีเรื่องของแบบห้องชุด (ห้องเล็ก ห้องใหญ่ ขนาดห้องนอนแตกต่างกัน ทำเลภายในอาคาร ด้านติดวิวสวยงาม โดยเฉพาะการตบแต่งภายในซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีการตบแต่งกันเป็นพิเศษ
   
5.
การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (ปรับแก้) กันทีละปัจจัย โดยพิจารณาปัจจัยใหญ่ ๆ (ที่มีผลกระทบมากกว่า) ก่อน โดยยึดหลัก
 
»
ถ้าเรื่องใดคล้ายกัน เหมือนกัน ก็ไม่ต้องปรับแก้
 
»
ุถ้าขนาดห้องชุดไม่เท่ากัน อาจเทียบกันเป็นราคาต่อตารางเมตร
 
»
ุแต่ถ้าปัจจัยใดต่างกัน ก็ต้องทำการวิเคราะห์ (ปรับแก้) โดยยึดเอาทรัพย์สิน (ห้องชุดที่ประเมิน) เป็นหลัก ถ้าปัจจัยหนึ่ง ๆ ห้องชุดเราดีกว่าก็ควรมีราคาสูงกว่า (ให้บวกเพิ่ม) กลับกันห้องชุดเราด้อยกว่า ก็ต้องมีราคาต่ำกว่า (ให้หักออก)
 
»
ุพิจารณาไปทีละปัจจัยที่มีผล จะได้ค่าปรับแก้ ทั้งที่เป็นบวกและลบ (จากราคาของข้อมูล) แล้วสุดท้ายจะได้มูลค่าห้องชุดเรา เมื่อเทียบกับข้อมูลหนึ่ง ๆ ถ้ามีข้อมูล 5 ข้อมูล มูลค่าห้องชุดที่วิเคราะห์แล้วก็จะมี 5 ตัวเลข ซึ่งจะมีใกล้เคียงกันมากแล้ว บางครั้งอาจได้ตัวเลขซ้ำกันก็มี
 
»
สรุปมูลค่าที่ประเมิน (มูลค่าตลาด) ผู้ประเมินอาจพิจารณาจากราคาใด ราคาหนึ่งใน 5 ตัวเลขข้างต้น โดยควรพิจารณาข้อมูลที่มีความคล้ายกับทรัพย์สินที่ประเมินมากที่สุด และเชื่อถือได้มากที่สุด ซื้อขายใกล้เคียงกับวันที่ประเมินมากที่สุด อย่างไรก็ตาม อาจพิจารณาร่วมกัน หลาย ๆ ข้อมูลก็ได้ หรือพิจารณาในช่วงราคา 5 ตัวเลขข้างต้นก็ได้ (แต่ถ้าตัวเลขบางตัว สูงไป ต่ำไป เมื่อเทียบกับข้อมูลอื่น ก็ไม่ควรนำมาพิจารณา แสดงว่าไม่หาข้อมูลมาไม่ดี ก็วิเคราะห์ไม่ดี)
   
6.
ตัวอย่างการประเมิน
 
»
ุถ้าต้องการประเมินห้องชุดในอาคารชุดแห่งหนึ่ง แถว ๆ พระราม 3 โดยห้องชุดมีขนาด 80 ตารางเมตร (2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ) ตั้งอยู่บนชั้น 20 วิวด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยา โดยอาคารชุด 30 ชั้น ระดับราคาแพง อายุ 5 ปี วัสดุพื้นเป็นปาร์เก้ มีการตบแต่งภายในประมาณ 500,000 บาท มีการดูแลรักษาดี
 
»
ุสืบหาข้อมูลตลาดได้ (สมมติเพียง 3 ข้อมูล)
    (1) ห้องชุดในอาคารเดียวกัน ขนาด 80 ตารางเมตร (2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ) เช่นกัน บนชั้น 25 (ชั้นสูงกว่าโครงการแพงกว่า ตรม.ละ 500 บาทต่อชั้น) วิวไม่ติดแม่น้ำ ภายในห้องชุดพื้นปาร์เก้แบบเดียวกัน แต่ไม่มีการตบแต่งภายใน เจ้าของไม่ได้ดูแล ราคาขายเมื่อปลายปี 44 ที่ผ่านมา 2,500,000 บาท
    (2) ห้องชุดในอาคารเดียวกัน ขนาด 80 ตารางเมตร (2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ) บนชั้น 17 วิวติดแม่น้ำ (โครงการขายวิวต่างกัน 200,000 บาท) ภายในห้องชุดพื้นปาร์เก้แบบเดียวกัน และมีการตบแต่งภายในไป 300,000 บาท ดูแลดี ราคาประกาศขาย 3,000,000 บาท ต่อรองได้เล็กน้อย
    (3) ห้องชุดในอาคารเดียวกัน ขนาด 79 ตารางเมตร (2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ) บนชั้น 15 วิวติดแม่น้ำ ภายในห้องชุดพื้นไม้ปาร์เก้แบบเดียวกัน ไม่มีการตบแต่งภายใน ไม่ดูแล ราคาซื้อขายเมื่อต้นปี 45 ที่ผ่านมา 2,200,000 บาท
 
»
ุแสดงตัวอย่างการวิเคราะห์ตามตาราง
ตารางแสดงวิธีการประเมินค่าห้องชุด ด้วยวิธีการ Market Comparison Approach
ลำดับ
ปัจจัยที่มีผลต่อราคา
การวิเคราะห์
ห้องชุดที่ประเมิน
ข้อมูล 1
ข้อมูล 2
ข้อมูล 3
1
รายละเอียดการวิเคราะห์
       
 
1.1
ราคา
 
ต้องการประเมิน
ราคาซื้อขาย 2.5 ล้านบาท *
ประกาศขาย 3.0 ล้านบาท
ราคาซื้อขาย 2.2 ล้านบาท
         
ซื้อขายเมื่อปลายปี 44
ต่อรองได้
ซื้อขายเมื่อต้นปี 45
     
การวิเคราะห์
 
ช่วงปลายปี 44-ปัจจุบัน ราคาไม่แตกต่าง
ประมาณการ 10%
ต้นปี-ปัจจุบัน ราคาไม่แตกต่าง
     
ค่าการวิเคราะห์
 
ไม่ปรับแก้
3.0 x 10% = 0.3 ล้านบาท
ไม่ปรับแก้
     
ค่าหลังการวิเคราะห์
 
ยังคงเป็น 2.5 ล้านบาท
หลังการต่อรองเหลือ 2.7 ล้านบาท
ยังคงเป็น 2.2 ล้านบาท
 
1.2
วิวห้องชุด
 
วิวติดแม่น้ำ
วิวไม่ติดแม่น้ำ
วิวติดแม่น้ำ
วิวติดแม่น้ำ
     
การวิเคราะห์
 
ห้องชุดเราวิวติดแม่น้ำ ราคาแพงกว่า
วิวเหมือนกัน
วิวติดแม่น้ำ
     
ค่าการวิเคราะห์
 
เท่ากับค่าวิว 0.2 ล้านบาท
ไม่มี
ไม่มี
     
ค่าหลังการวิเคราะห์
 
คงเหลือ 2.5+0.2 = 2.7 ล้านบาท
เท่าเดิม 2.7 ล้านบาท
ยังคงเป็น 2.2 ล้านบาท
 
1.3
วัสดุพื้น/
 
ปาร์เก้ +ตบแต่ง
ปาร์เก้ ไม่ได้ตบแต่ง
ปาร์เก้ + ตบแต่ง แค่ 0.3 ล้าน
ปาร์เก้ ไม่ได้ตบแต่ง
   
การตบแต่ง
การวิเคราะห์
ไป 0.5 ล้านบาท
ห้องชุดเราตบแต่งแล้ว ราคาต้องแพงกว่า **
ห้องชุดเราตบแต่งมากกว่า (0.5 ล้านบาท)
ห้องชุดเราตบแต่งแล้ว ราคาต้องแพงกว่า
     
ค่าการวิเคราะห์
 
เพิ่มค่าตบแต่ง 0.5 ล้านบาท
เพิ่มค่าตบแต่งมากกว่า 0.5-0.3=0.2 ล้าน
เพิ่มค่าตบแต่ง 0.5 ล้านบาท
     
ค่าหลังการวิเคราะห์
 
เป็น 2.7+0.5 = 3.2 ล้านบาท
เป็น 2.7+0.2 = 2.9 ล้านบาท
เป็น 2.2+0.5 = 2.7 ล้านบาท
 
1.4
ความแตกต่าง
 
ชั้น 20
ชั้น 25
ชั้น 17
ชั้น 15
   
ระหว่างชั้น
การวิเคราะห์
 
ห้องชุดเราต่ำกว่า 5 ชั้น ราคาควรต่ำกว่า
ห้องชุดเราสูงกว่า 3 ชั้น ราคาควรสูงกว่า
ห้องชุดเราสูงกว่า 5 ชั้น ราคาควรสูงกว่า
     
ค่าการวิเคราะห์
 
ชั้นละ 500 บาท/ตรม. 5 ชั้น = 2,500 บาท
ชั้นละ 500 บาท/ตรม. 3 ชั้น = 1,500 บาท
ชั้นละ 500 บาท/ตรม. 5 ชั้น = 2,500 บาท
         
เป็นเงิน = 2,500 x 80ตรม. = 0.2 ล้าน
เป็นเงิน = 1,500 x 80ตรม. = 0.12 ล้าน
เป็นเงิน = 2,500 x 80ตรม. = 0.2 ล้าน
     
ค่าหลังการวิเคราะห์
 
คงเหลือ = 3.2 -0.2 = 3.0 ล้านบาท
เพิ่มเป็น = 2.9 + 0.12 = 3.02 ล้านบาท
เพิ่มเป็น = 2.7 + 0.2 = 2.9 ล้านบาท
 
1.5
ขนาดห้องชุด
 
80 ตรม.
80 ตรม.
80 ตรม.
79 ตรม.
     
การวิเคราะห์
 
ขนาดห้องชุดเท่ากัน
ขนาดห้องชุดเท่ากัน
ห้องชุดเรามากกว่า 1 ตรม. (80-79)
     
ค่าการวิเคราะห์
 
ไม่มีผล
ไม่มีผล
ควรแพงกว่า = 1x 38,000 = 0.038 ล้าน
     
ค่าหลังการวิเคราะห์
 
คงเป็น 3.0 ล้านบาท
คงเป็น 3.02 ล้านบาท
เพิ่มเป็น 2.9+0.038 = 2.938 ล้านบาท
 
1.6
การดูแล
 
ดูแลดี
ไม่ได้ดูแล
ดูแลดีเหมือนกัน
ไม่ได้ดูแล
     
การวิเคราะห์
 
ห้องชุดเราดูแลดี ราคาควรสูงกว่า
การดูแลไม่มีผล
ห้องชุดเราดูแลดี ราคาควรสูงกว่า
     
ค่าการวิเคราะห์
 
เพิ่มสภาพห้องที่มีการดูแลดีกว่า
ไม่มี
เพิ่มสภาพห้องที่มีการดูแลดีกว่า
         
ค่าเสื่อม:ห้องดูแลปีละ 1.0%/ไม่ดูแล 4.0%
 
ค่าเสื่อม:ห้องดูแลปีละ 1.0%/ไม่ดูแล 4.0%
         
ต่างกัน 3.0% = 3.0 x 3% = 0.09 ล้าน
 
ต่างกัน 3.0% = 2.938 x 3% = 0.088 ล้าน
     
ค่าหลังการวิเคราะห์
 
เพิ่ม = 3.0 + 0.09 = 3.09 ล้านบาท
คงเป็น 3.02 ล้านบาท
เพิ่ม = 2.938+0.088 = 3.026 ล้านบาท
 
1.7
อื่น ๆ
   
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
2
คงเหลือสุทธิ
   
3.09 ล้านบาท
3.02 ล้านบาท
3.026 ล้านบาท
       
หรือ ตรม.ละ 38,625 บาท
หรือ ตรม.ละ 37,750 บาท
หรือ ตรม.ละ 38,305 บาท
3
ประเมินมูลค่าตลาด
   
3.05 ล้านบาท
 
เหตุผล
   
พิจารณาข้อมูลที่ 1 และ 3 เป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นการซื้อขายจริง ใกล้เคียงกับปัจจุบัน ส่วนข้อมูล 2 ตัวแปรการต่อรองอาจเปลี่ยนแปลงได้
4
อธิบายเพิ่มเติม
* การวิเคราะห์อาจเทียบเป็น ราคาต่อ ตรม.ก็ได้ แต่หน่วยการเปรียบเทียบต้องเป็นราคา/ตรม. เช่นกัน
** การตบแต่ง ในกรณีประเมินเพื่อขอสินเชื่อ การตบแต่งที่ไม่ติดตรึง ส่วนใหญ่จะไม่พิจารณา เนื่องจากถ้าเกิดการบังคับคดี มักจะไม่เหลือไว้
 
        การประเมินด้วย วิธีการแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach) บ้าง เนื่องจากห้องชุดส่วนใหญ่มีการเช่า ซึ่งสามารถนำค่าเช่ามาวิเคราะห์มูลค่าได้เช่นกัน
 
        ตามหลักการของวิธีการแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach) หลักการก็คือ "มูลค่าวันนี้ = ผลรวมของรายได้สุทธิที่จะได้ในอนาคตจนสิ้นอายุขัย" ทรัพย์สินมีค่าเพราะมันสร้างรายได้ ทรัพย์ที่สร้างรายได้สูงกว่าจะมีมูลค่าสูงกว่า
 
ขั้นตอนเป็นดังนี้:
1)
ประมาณรายได้ โดยพิจารณาค่าเช่าของห้องชุดที่ประเมิน (ถ้ามี) เปรียบเทียบกับค่าเช่าตลาดจากห้องชุดอื่นๆ ที่มีการเช่า ถ้าห้องชุดเราไม่มีการเช่าก็พิจารณาเปรียบเทียบเอาจากค่าเช่าตลาด แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้ามีค่าเช่าห้องชุดเราเองแล้วใช้ได้เลย ต้องเปรียบเทียบตลาดกับห้องชุดอื่น ๆ ด้วยตามหลักการ
2)
แต่ต้องเป็นรายได้ที่แท้จริง อาจต้องลบด้วยอัตราว่าง (ช่วงหาคนเช่าไม่ได้) และหนี้สูญ (กรณีเป็นการประเมินจำนวนหน่วยมาก ๆ ทั้งอาคาร) โดยการเปรียบเทียบกับภาวะตลาด
3)
หารายได้สุทธิ โดยหักด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าดำเนินการ ภาษี ประกัน จัดการ ค่าบำรุงรักษา เป็นต้น
4)
นำรายได้สุทธิ หารด้วยอัตราผลตอบแทนในการลงทุน หรือการให้เช่า จะได้มูลค่าทรัพย์สิน
ตามสูตรการหามูลค่าที่ว่า V = I/R
โดย V คือ มูลค่าทรัพย์สิน Value
 
I
คือ รายได้สุทธิต่อปี Net Income
 
R
คือ อัตราผลตอบแทน Capitalization Rate
5)
จากสูตรข้างต้น Net Income เราหาได้แล้วตามข้อ 4 แต่ยังไม่ทราบ คือ อัตราผลตอบแทน ซึ่งในการในการประเมินค่าห้องชุด สามารถหาได้
 
5.1
โดยพิจารณาตามสูตรในข้อ 4 ถ้า V=I/R ดังนั้น R=V/I คือ หาจากมูลค่า หรือราคาซื้อขาย หารด้วยรายได้สุทธิ หรือค่าเช่านั่นเอง
 
5.2
โดยอาจต้องไปเปรียบเทียบกับข้อมูลตลาด จากการเช่าและราคาซื้อขายของห้องชุดอื่น ๆ หรือจากโครงการอาคารชุดอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน เช่น มีห้องชุดหนึ่ง 100 ตารางเมตร ประกาศทั้งขายและเช่า โดยถ้าขายจะขายตารางเมตรละ 30,000 บาท หรือถ้าจะเช่าเดือนละ 20,000 บาท (ต้องคิดเป็นหน่วยเดียวกัน คือ เช่าตารางเมตรละ 200 บาท/เดือน) ผลตอบแทนควรเป็นดังนี้
= ((200 x12) - 20%) / 30,000 = 6.4 %
(20% คือ อัตราว่าง, ค่าใช้จ่ายและหนี้สูญโดยประมาณ)
 
5.3
โดยการหาจากห้องชุดอื่น ๆ ต้องพิจารณาหลาย ๆ ข้อมูล แล้วนำมาเปรียบเทียบกับห้องชุดเรา เพื่อกำหนดผลตอบแทนของห้องชุดที่เราจะประเมิน
 
5.4
การหาผลตอบแทน สามารถทำได้อีกหลายวิธี เช่น การพิจารณาจาก อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ปลอดภัยที่สุดที่ใช้ให้เงินทำงานแทนเรา โดยที่ไม่ต้องลงแรงไปนั่งลงทุนหรือเสี่ยงเอง เช่น การฝากเงินไว้ในสถาบันการเงิน หรือซื้อพันธบัตรรัฐบาล (ถ้าปัจจุบัน 4%) บวกด้วยผลตอบแทนที่เราต้องการเพิ่มเข้าไป (ถ้าต้องการเพิ่มอีก 2%) รวม 6% แล้วเทียบกับผลตอบแทนที่ได้ตามข้อ 5.2 ว่าผลตอบแทนจากตลาด กับผลตอบแทนที่เราต้องการเป็นอย่างไร แต่ในการประเมินค่าทรัพย์สินจะยึดถือตามตลาดเป็นสำคัญ
6)
ในการประเมินค่าวิธี Income Approach จะมีวิธีย่อย 2 วิธี คือ Direct Capitalization และ Discount Cash Flow โดยตามหลักการของวิธีการ Income Approach ที่ต้องพิจารณารายได้ในอนาคต ซึ่งจะเปลี่ยนแปลง ขึ้นลงไปตามภาวะไม่ว่า ค่าเช่า-อัตราว่าง-ค่าใช้จ่าย และอื่น ๆ
7)
ถ้าเราประเมินสมมติฐานว่าในอนาคตไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนแปลงน้อย เราก็ใช้สูตรหามูลค่าโดย V =I/R ได้เลย จะเรียกว่าวิธี Direct Capitalization ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในการประเมินทรัพย์สินที่มีรายได้ไม่มาก เช่น ห้องชุดห้องเดียว บ้านหลังเดียว
8)
แต่ถ้าคิดต่อประมาณการการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ตามภาวะตลาด จะเรียกว่าวิธีการ และ Discount Cash Flow โดยต้องคาดการณ์อนาคตทำเป็น Cash Flow และต้องคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันด้วย เนื่องจากค่าของเงินที่อนาคตที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อคิดเป็นปัจจุบันแล้วต้องน้อยลง เช่น ถ้าในปีหน้า จะได้รับ 100,000 บาท ถ้าคิดเป็นค่า ณ วันนี้เลย จะเหลือแค่ 90,909 บาทเท่านั้น (โดยถ้าคิดกลับกัน คือ ถ้ามีเงินวันนี้ 90,909 บาท ฝากธนาคารดอกเบี้ย 10% จะเป็นเงิน 100,000 บาท) ซึ่งในรายละเอียดวิธีการจะค่อนข้างซับซ้อนว่า เราจะคาดการณ์อนาคตได้อย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับทรัพย์สินที่มีรายได้มาก ๆ เช่น อาคารสำนักงาน อพาร์ทเม้นต์ อาคารชุดทั้งหลัง
9)
แต่สำหรับท่านผู้อ่าน เราประเมินค่าแบบง่าย ๆ ตาม Direct Capitalization ก็คงพอ
10)
ตัวอย่างเช่น
 
»
ุถ้าต้องการประเมินห้องชุดห้องหนึ่ง ขนาด 50 ตารางเมตร โดยวิธีการ Income Approach
 
»
ุสืบหาข้อมูลตลาดหลายข้อมูล และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ สรุปได้ว่าถ้าเปรียบเทียบแล้วห้องชุดที่เราจะประเมินนี้ ควรจะมี (การสำรวจรายละเอียดห้องชุดที่จะประเมิน รวมทั้งการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลตลาด ทำเช่นเดียวกับที่ได้อธิบายเมื่อคราวที่แล้ว)
    (1) ค่าเช่าตลาดเดือนละ 10,000 บาท
    (2) อัตราว่าง 10%
    (3) หนี้สูญ 5%
    (4) ค่าใช้จ่ายอีก 10%
    (5) ผลตอบแทน 7.0%
  » ุมูลค่าจะเป็นดังนี้
    (1) หารายได้ที่ได้แท้จริงต่อปี = ค่าเช่าต่อเดือน x 12 หักด้วยอัตราว่าง-หนี้สูญ
    (2) รายได้ที่แท้จริง = 102,000 บาท
    (3) เอารายได้ที่แท้จริง หักค่าใช้จ่าย = 102,000 - 10% = 91,800 บาท เป็นรายได้สุทธิ
    (4) เอารายได้สุทธิ หารด้วยอัตราผลตอบแทนในการลงทุน = 91,800 / 7.0%
    (5) จะได้มูลค่าห้องชุดที่ประเมิน = 1,311,428 บาท หรือ 1,300,000 บาทโดยประมาณ
        การประเมินห้องชุดด้วยวิธีการ Income Approach จะใช้ในกรณีที่ภายในอาคารชุดนั้น ๆ อาจจะไม่ค่อยมีราคาซื้อขาย ส่วนใหญ่มีแต่ค่าเช่า (เพราะถ้ามีราคาซื้อขายมาให้เปรียบเทียบได้เพียงพออยู่แล้ว ก็ใช้วิธีการเปรียบเทียบราคาตลาดจะดีกว่า) และถ้าไม่ค่อยมีหรือไม่มีราคาซื้อขาย การหาผลตอบแทนเราก็อาจเปรียบเทียบกับอาคารชุดอื่น ๆ ที่มีระดับใกล้เคียงกันตามวิธีการข้างต้นได้
Area Trebs FIABCI
 
10 ถนน.นนทรี กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์:66 2295 3171: โทรสาร: 66 2295 3994 Email: info@thaiappraisal.org   สถานที่ตั้ง: แผนที่