|
|
สรุปสาระข่าว |
|
ทักษิณ'ลุยเอง-หวังใช้ดันเศรษฐกิจอีกเฮือก |
เปิดไส้ใน
บสท.พบเป็นหนี้เน่าที่ฟื้นไม่ได้เกือบ 80,000 ล้านบาท
ส่วนยอดปรับโครงสร้างหนี้ 105,000 ล้านบาท บสท.เพิ่งได้รับเงินคืนแค่
560 ล้านบาท เผยปัจจัยเสี่ยงที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนได้ตามสัญญา
'ทักษิณ' ลุยเองหวังฟื้นหนี้เน่าดันเศรษฐกิจอีกเฮือก |
|
ข้อคิดเห็น |
|
ยังไม่รู้สุดท้าย
บสท. จะมีสภาพอย่างไร เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเหลือเกิน
ขั้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปไม่รู้จะเป็นอะไร
ถ้าจะให้ดี น่าจะไปศึกษา บสท.ของมาเลเซีย หรือ "Danaharta" ที่นั่น
เขาทำอย่างนี้
1. จัดการตัวใหญ่ ๆ เป็นตัวอย่างก่อน เพราะพวกนี้ปล่อยลากยาวมาแต่สมัยอยู่กับสถาบันการเงินต่าง
ๆ แล้ว จะได้เป็นบันทัดฐานกับรายอื่น ๆ
2. จะปรับโครงสร้างหนี้ได้ ทุกงานต้องมีการประเมินค่าทรัพย์สิน
3. งานประเมินส่งกระจายไปบริษัทประเมินที่เป็นกลางอย่างทั่วหน้า
และเปิดเผย
ไม่รู้ บสท. ของไทยเราเป็นอย่างนี้หรือไม่ |
|
รายละเอียดของเนื้อข่าว |
|
แผนสางหนี้เน่าเหลวบสท.เจ๊งยับ
8 หมื่นล้าน |
|
เปิดไส้ใน บสท.พบเป็นหนี้เน่าที่ฟื้นไม่ได้เกือบ
80,000 ล้านบาท ส่วนยอดปรับโครงสร้างหนี้ 105,000
ล้านบาท บสท.เพิ่งได้รับเงินคืนแค่ 560 ล้านบาท
เผยปัจจัยเสี่ยงที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนได้ตามสัญญา
'ทักษิณ' ลุยเองหวังฟื้นหนี้เน่าดันเศรษฐกิจอีกเฮือก
หลังจากที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ
1 กรกฎาคม 2544 เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงิน โดยรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินเอกชนและสถาบันการเงินของรัฐ
29 แห่ง องค์กร บสท.ก็ถูกจับตามาตลอดว่า จะดำเนินการจัดการสะสางปัญหาหนี้เน่าที่ทะยอยรับโอนมาได้อย่างรวมเร็ว-มี
ประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะนโยบายในเรื่องดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลต้องการเร่งรัดให้มีการแก้ปัญหาโดยเร็ว
ซึ่งจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมด้วย
แต่ความคืบหน้าในการจัดการหนี้ตามที่ บสท. เพิ่งแถลงผลการดำเนินงานว่าในช่วง
2 ไตรมาสของปี 2545 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าสามารถรับโอน-บริหารจัดการหนี้ไปแล้วประมาณ
200,000 ล้านบาท และคาดว่าจะดำเนินการได้ครบ 500,000 ล้านบาทภายในปีนี้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณารายละเอียดในการดำเนินการ ปัญหาความล่าช้า
จำนวนเงินที่ บสท. เพิ่งได้รับชำระเงินเพียง 560 ล้านบาทจากยอดปรับโครงสร้างหนี้
105,000 ล้านบาท หรือบัญชีหนี้ที่รับโอนมาเกือบ 80,000 ล้านบาทนั้น เป็นมูลหนี้ที่มีการบังคับจำนองพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ซึ่งแทบไม่มีโอกาสฟื้นหรือเป็นหนี้เน่าแน่นอน
ตลอดจนข้อสังเกตของนักวิเคราะห์ซึ่งมองว่าการจัดการสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPA)ของ
บสท.อาจไม่ได้ส่วนต่างหรือกำไรอย่างที่คาดหวังไว้ ก็ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี ยังแสดงความเป็นห่วงและเดินทางไปร่วมประชุมเพื่อให้นโยบายกับคณะกรรมการ
บสท.อีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2545 ที่ผ่านมา |
|
ทักษิณโดดคุมใกล้ชิด |
โดย พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังการหารือร่วมกับนายสมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายเชาว์ สายเชื้อ ประธานกรรมการ บสท. พร้อมทั้งนายสถิตย์
ลิ่มพงษ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บสท.ว่า ตนมาติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานการปรับโครงสร้างหนี้ของ
บสท.ว่าไปถึงไหนแล้ว ต้องการที่จะมาฟังด้วยตนเอง
ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่า พอใจในผลงานการปรับโครงสร้างหนี้ของผู้บริหาร
บสท.
สำหรับองค์กรที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่สามารถดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้มาได้ถึงขนาดนี้ก็ถือว่าดีมาก
และที่จะต้องทำต่อไปในอนาคตก็ต้องให้ดีกว่านี้อีก ที่ผ่านมา บสท.สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ประมาณ
2 แสนล้านบาท และในช่วงครึ่งปีหลังอีก 3 แสนล้านบาท รวมเป็น 5 แสนล้านบาท ทางผู้บริหาร
บสท.ก็ยืนยันว่าสามารถทำได้แน่นอน และผมก็ได้ให้นโยบายแก่ บสท.ไปว่า ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของ
บสท.ก็เปรียบเสมือนเครื่องยนต์ยิ่งแก้ไขปลดปล่อยออกมายิ่งมากเท่าไร ก็ยิ่งสร้างรายได้
เกิดการจ้างงาน เศรษฐกิจเกิดการขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างปกติ นอกจากปริมาณแล้วก็ขอให้ดูที่คุณภาพด้วย
การมุ่งค้าหากำไรไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของ บสท.'
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่า อยากจะให้ บสท. เน้นไปที่การปรับโครงสร้างกิจการ
ซึ่งจะมีบางธุรกิจที่ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ในส่วนนี้ก็ต้องเลิกหรือหยุดกิจการ
มีบางธุรกิจที่พอไปไหว ก็ต้องสนับสนุนให้เขาเดินได้ต่อไป เช่น บางกิจการมีบริษัทในเครือข่าย
5 บริษัท บางบริษัททำอย่างไรก็ไม่ฟื้นก็ต้องตัดออกไป หรือบางกิจการลงทุนไปแล้ว 80%
เหลืออีก 20% ก็จะเสร็จสามารถขายได้ กรณีนี้จะให้การเคหะแห่งชาติ หรือกองทุนของต่างชาติเข้ามาช่วยเหลือหรือว่าจะขายทิ้งในราคา
60% ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลยที่จะปล่อยไปเรื่อยๆ
ผมมาให้ความมั่นใจกับผู้บริหารของ บสท. ในการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้รายใหญ่ๆ
อาจจะมีปัญหาในแง่ของอิทธิพลต่างๆ ถ้าเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามหลักการ รัฐบาลพร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
ถ้าเจรจากันแล้วไม่ยอมทำอะไรก็ให้ดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายได้เลย เท่าที่ผู้บริหารของ
บสท.มารายงานให้ทราบ ทาง บสท.ก็ทำได้ดีพอสมควร แต่ก็ต้องทำต่อไป และในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ก็จะจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับ
บสท.อีกครั้ง และจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามารับฟังความคืบหน้า วิจารณ์และเสนอแนะแนวทางที่ดีที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต'
พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว |
|
บสท.ยันรับโอนหนี้แล้ว2แสนล. |
ด้านนายสถิตย์ ลิ่มพงษ์พันธุ์
ประธานกรรม การบริหาร บสท. กล่าวว่า ในครึ่งปีแรก
บสท. สามารถบริหารจัดการกับลูกหนี้จนได้ข้อยุติ
511 ราย มูลค่าบัญชีที่รับโอน 200,884 ล้านบาท
แบ่งเป็น 1.การปรับโครงสร้างหนี้ 241 ราย มูลค่า
83,001 ล้านบาท คิดเป็น 41.23%, 2.ฟื้นฟูกิจการในศาลล้มละลายกลาง
42 ราย มูลค่า 36,111 ล้านบาท คิดเป็น 17.98%,
3.บังคับหลักประกัน/พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 222 ราย
มูลค่า 79,383 ล้านบาท คิดป็น 39.52% และ 4.ศาลแพ่งมีคำพิพากษา
6 ราย 2,389 ล้านบาท คิดเป็น 1.19%
นอกจากนี้ ผลการบริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพ อัตราที่คาดว่าจะได้รับชำระคืน
(Expected Recovery Rate) จากลูกหนี้ที่มีการปรับโครงสร้างหนี้และลูกหนี้ที่ผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการในศาลล้มละลายกลางที่มีแผนการชำระเงินคืนของลูกหนี้ที่ชัดเจนจำนวน
283 ราย ประมาณ 47.3% ของมูลค่าตามบัญชี ซึ่งสูงกว่าราคารับโอนเฉลี่ยของ บสท.ที่
33.15% แต่ทั้งนี้ยังไม่นับปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาของลูกหนี้ในภายหลังมาคำนวณด้วย
ส่วนลูกหนี้ที่ บสท.ดำเนินการบังคับจำนอง/ จำนำทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันจำนวน
222 ราย มูลค่า 79,383 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้และไม่ให้ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้
ทาง บสท.จะมีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้และผู้จำนอง/จำนำมาชำระหนี้แก่ บสท.ภายใน 1 เดือน
หากไม่ชำระตามกำหนดเวลา บสท.จะกำหนดวิธีการพัฒนาหรือจำหน่ายทรัพย์สินต่อไป
ทั้งนี้ บสท.ระบุว่าสินทรัพย์ที่ตีโอนชำระหนี้ดังกล่าว บสท.จะแบ่งตามกลุ่มประเภทของสินทรัพย์
เช่น อาคารชุด อาคารสำนักงาน บ้าน ทาวน์เฮาส์ ที่ดินเปล่าหรือที่ดินสวนเกษตร
และจำแนกตามทำเลที่ตั้ง โดย บสท.มีแนวทางในการร่วมลงทุนในการพัฒนาสินทรัพย์ดังกล่าว
ซึ่งจะถือหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 50% โดยการนำอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองมาลงทุน
ในส่วนของผู้ร่วมลงทุนจะนำเงินมาลงทุนตามสัดส่วนที่เหลือ รวมทั้งทำหน้าที่ในการบริหารจัดการสินทรัพย์นั้นๆ
โดย บสท.เป็นผู้กำหนดนโยบาย
อนึ่ง มูลหนี้ที่มีการบังคับจำนอง/จำนำนั้น ในเดือนเมษายนมีจำนวน
34,900 ล้านบาท เดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นเป็น 53,000 ล้านบาท และมิถุนายนเพิ่มขึ้นเป็น
79,383 ล้านบาท
นายสถิตย์กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน บสท.ได้รับชำระเงินจากลูกหนี้ทั้งในส่วนที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้และส่วนที่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว
ณ สิ้นมิถุนายน 2545 บสท.ได้รับชำระเงินแล้วทั้งสิ้น 560 ล้านบาท |
|
นักวิเคราะห์ชี้โอกาสขาดทุนสูง |
แหล่งข่าวจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ให้ความเห็นว่า
จำนวนหนี้ที่ บสท.แจ้งว่าสามารถทำได้ 200,000 ล้านบาทตามเป้าหมายนั้น
เกือบครึ่งหนึ่งเป็นการตีโอนชำระหนี้ เท่ากับว่าหนี้ด้อยคุณภาพแต่เดิมเป็นเอ็นพีแอล
แต่ตอนนี้กลายเป็นเอ็นพีเอหรือสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
หรือ Non Performing Aseet : NPA ไปแล้ว
คำถามก็คือว่า เอ็นพีเอพวกนี้ทาง บสท.จะบริหารจัดการอย่างไร
ปัญหาจะอยู่ที่ตรงนี้ เพราะจากเดิมที่เป็นหนี้ ตอนนี้กลายมาเป็นสินทรัพย์ของ บสท.ที่จะต้องรับผิดชอบจัดการ
หากจัดการไม่ดีก็จะกองอยู่ที่ บสท. เพราะการหาคนมาซื้อหรือจะขายออกไปหรือจะหาผู้ร่วมทุนมาช่วยบริหารก็ตาม
เรื่องเหล่านี้ทำไม่ได้ง่ายๆ ส่วนหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว อัตราที่คาดว่าจะได้รับการชำระคืน
47.3% เมื่อนำราคาที่รับโอนมา 33.15% มาลบออกไป บสท.จะมีส่วนต่าง 14.35% ทั้งนี้
ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ไม่รู้ว่าจะขาดทุนหรือไม่ และถ้าลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วไม่สามารถทำได้ตามเงื่อนไขและข้อตกลง
อัตราการชำระคืนก็จะไม่ได้ตามที่คาดการณ์ เพราะ บสท.ได้หมายเหตุเอาไว้แล้วว่า อัตราการชำระคืนนี้ยังไม่ได้คิดปัจจัยเสี่ยงที่ลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผน
และครึ่งปีแรกที่ผ่านมาได้รับการชำระหนี้คืน 560 ล้านบาทเท่านั้น จากมูลหนี้ที่ยุติแล้วและอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างจำนวนประมาณ
105,000 ล้านบาท' แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกตต่อว่า การที่รัฐบาลให้น้ำหนักกับการแก้ปัญหาหนี้เน่าของ
บสท.เพราะเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวจากนี้ไปต้องมาจากภาคเอกชน ซึ่งปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพในระบบจริงๆ
ในขณะนี้มีประมาณ 1.5 ล้านล้านบาทที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ส่วนหนึ่งก็อยู่ที่ บสท.
อีกส่วนหนึ่งก็อยู่ที่ ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ซึ่งไม่รวมหนี้เอ็นพีแอลใหม่ที่เพิ่มเข้ามาอีก
ดังนั้น รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะบริหารจัดการ
เพราะในส่วนของ บสท.เองส่วนใหญ่จะตีโอนชำระหนี้ ขณะที่การปรับโครงสร้างหนี้ที่ได้ผลและธุรกิจสามารถเดินหน้าได้จริงๆ
มีน้อยมาก |