ที่ A.R.E.A.11/221/40 |
17 พฤศจิกายน 2540 |
|
เรื่อง |
ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาอสังหาริมทรัพย์ |
|
|
เรียน |
นายชวน หลีกภัย
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี |
|
|
ในโอกาสที่
ฯพณฯ และคณะได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นคณะรัฐบาลชุดใหม่
กระผมใคร่ขอแสดงความยินดีและพร้อมกันนี้จึงใคร่ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อท่านโปรดพิจารณาดังนี้: |
|
1. |
เกี่ยวกับ Agency for Real
Estate Affairs (AREA) |
|
1.1 |
AREA เป็นบริษัทที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ด้านการประเมินค่าทรัพย์สินและเป็นศูนย์วิจัยอสังหาริมทรัพย์ของคนไทยที่ให้บริการแก่ภาครัฐบาล
ภาคเอกชนและหน่วยงานระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง |
|
1.2 |
ศูนย์วิจัยอสังหาริมทรัพย์นี้
ได้สำรวจข้อมูลตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง
จึงได้รับการยอมรับว่ามีฐานข้อมูลขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย |
|
1.3 |
และเพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นกลางโดยเคร่งครัด
บริษัทฯ จึงไม่มีบริการด้านนายหน้าหรือเข้าร่วมการพัฒนาที่ดินเองทั้งทางตรงและทางอ้อม |
|
|
2. |
สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์
ณ ไตรมาส 3/2540 (กันยายน) |
|
2.1 |
ผลการสำรวจของ AREA พบว่า
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2540 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
มีโครงการที่อยู่อาศัยที่เสนอขายอยู่ในตลาดและยังไม่มีผู้จองซื้อทั้งหมด
123,916 หน่วย รวมเป็นมูลค่า 184,864 ล้านบาท |
|
2.2 |
คาดว่าในจำนวนนี้จะมีประมาณ
50,808 หน่วยที่จะยกเลิกไป ด้วยผลการขายต่ำมาก
จึงเชื่อว่ายังจะมีหน่วยขายที่ยังอยู่รอดในตลาดประมาณ
73,108 หน่วย |
|
2.3 |
ที่ผ่านมาพบว่า มีจำนวนหน่วยขายที่ล้มเลิก-หยุดขายไปแล้วจำนวนรวมถึง
312,377 หน่วย รวมมูลค่า 427,598 ล้านบาท
ซึ่งนับเป็นจำนวนมหาศาล |
|
|
3. |
สาเหตุแห่งปัญหา |
|
3.1 |
ประเด็นสำคัญคือภาวะล้นตลาด
จากการศึกษาของ AREA พบว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
(พ.ศ.2530-2540) จำนวนบ้านในเขต กทม.และปริมณฑลเพิ่มขึ้น
1 เท่าตัว (จาก 1.2 ล้านหลังเป็น 2.5 ล้านหลัง)
แสดงว่าการผลิตล้นเกินความต้องการ นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาความเสื่อมทรุดของธุรกิจ
ซึ่งปรากฎชัดก่อนภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเสียอีก |
|
3.2 |
ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศ
โดยมีปรากฎการณ์คือการปิดบริษัทเงินทุน 58
แห่ง และการลดค่าเงินบาท ทำให้กำลังซื้อซึ่งน้อยกว่าอุปทานอยู่แล้วกลับลดลงจนแทบไม่เหลือ
เพราะประชาชนโดยเฉพาะผู้มีรายได้ประจำตกงานจำนวนมหาศาล
ดังนั้นตลาดอสังหาริมทรัพย์จึงหมดโอกาสการเยียวยาอีกต่อไป
โครงการเป็นจำนวนมากจะต้องล้มเลิกไปในที่สุด
ไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาขั้นรากฐานนี้ได้ |
|
3.3 |
AREA คาดการณ์ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะฟื้นตัวอีกครั้งในปี
2545 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ ณ ปี 2543 ทั้งนี้เพราะอุปสงค์ที่อยู่อาศัยลดลงอย่างมหาศาลในปัจจุบันนี้ |
|
|
4. |
ความเข้าใจเบื้องต้นประกอบแนวทางการแก้ไขปัญหา |
|
4.1 |
การแก้ไขปัญหาอสังหาริมทรัพย์
ไม่สามารถเริ่มแก้ที่ผู้ประกอบการเป็นอันดับแรก
โครงการจำนวนมากไม่มีความเป็นไปได้ทางการตลาดมาแต่แรก
โครงการอีกหลายแห่งไม่อาจหาอุปทานได้อีกต่อไป
เพราะอุปทานหดหายไปเกือบหมด ความต้องการจำเป็นในการซื้อบ้านเปลี่ยนไป
ในปัจจุบันนี้ การซื้อบ้านเพราะการแต่งงาน
แยกครอบครัว ย้ายบ้านใหม่ ย้ายตามที่ทำงาน
ส่วนมากจะกลับกลายเป็นความไม่จำเป็นไปเสียแล้ว
ด้วยความสามารถทางการเงินของประชรชนมีจำกัดลง
ไม่สามารถหาซื้อที่อยู่อาศัยได้อีกต่อไป |
|
4.2 |
การแก้ไขปัญหาด้วยแนวทางทางการเงิน
โดยเฉพาะกลุ่มสถาบันการเงิน ก็ไม่สมควรดำเนินการเช่นกัน
ด้วยสถาบันการเงินหลายแห่งดำเนินการผิดพลาด
จนมีหนี้เสียเป็นจำนวนมาก เป็นความผิดพลาดของผู้บริหาร
ไม่จำเป็นที่รัฐบาลจะเกื้อหนุนด้วยภาษีอากรของประชาชนแต่อย่างใด
ควรนำงบประมาณไปพัฒนาประเทศทางด้านอื่นที่ให้มรรคผลมากกว่า |
|
4.3 |
การแก้ไขปัญหาอสังหาริมทรัพย์
ต้องอาศัยการคัดสรรเป็นพิเศษเพื่อให้การแก้ไขปัญหาตรงจุด
โดยเฉพาะการเน้นการแก้ไขปัญหาของประชาชนผู้ซื้อบ้านเป็นสำคัญ |
|
|
5. |
แนวทางการแก้ไขปัญหาอสังหาริมทรัพย์ |
|
5.1 |
การให้สินเชื่อเพื่อการซื้อบ้าน |
|
|
5.1.1 |
ภาพรวม
ประชาชนที่กำลังจะโอนบ้านและมีความสามารถครบตามเงื่อนไขของสถาบันการเงิน
สมควรได้รับการส่งเสริมการให้สินเชื่อเพื่อการนี้ จากการที่มีกรณีดอกเบี้ย
9% ในรัฐบาลครั้งที่แล้ว จะเห็นได้ว่ามีประชาชนมาขอกู้เป็นจำนวนมาก
น่าจะมีความเป็นไปได้สูง |
|
|
5.1.2 |
ประโยชน์
ในการนี้คือทำให้เกิดสภาพคล่องในทางเศรษฐกิจ ผู้ซื้อบ้านได้บ้าน ผู้ประกอบการได้รับเงินลงทุนคืน
เป็นดอกผลและเพื่อใช้หนี้ต่าง ๆ สถาบันการเงินได้ดอกเบี้ย เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นตามดอกเบี้ยที่ได้รับ |
|
|
5.1.3 |
วิธีการ
ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ดำเนินการให้สินเชื่อในวงเงินประมาณ
100,000 ล้านบาทในอัตราดอกเบี้ยตามอัตราของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในปัจจุบัน
โดยเปิดให้กู้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน และในระยะเวลาการกู้ 15-20
ปี |
|
|
5.1.4 |
ข้อสังเกต
ไม่ควรให้ดอกเบี้ย 9% เพราะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าตลาดเกินไป ผู้ซื้อบ้านในขณะนี้ต้องการเพียงแหล่งเงินกู้
อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่สาระสำคัญเร่งด่วน การแทรกแซงตลาดของรัฐบาลนี้ไม่กระทบต่อสถาบันการเงินในปัจจุบันเพราะสถาบันการเงินอื่น
ๆ ก็แทบไม่ได้ให้สินเชื่อทางด้านนี้อยู่แล้ว |
|
|
5.1.5 |
ข้อพึงระวัง
ต้องมีกลไกการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้กู้ให้ละเอียด หากคุณสมบัติไม่เพียงพอก็ไม่อาจปล่อยกู้ได้
หรือให้กู้เพียง 30-70% ของมูลค่าที่ประเมินได้ กรณีส่อแววทุจริตโดยพฤตินัย
เช่น การพาสมัครพรรคพวกของผู้ประกอบการมาขอกู้เอง การเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเฉพาะกลุ่ม
ต้องมีกลไกควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นโดยเด็ดขาด |
|
|
5.1.6 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
การดำเนินการนี้ ไม่อาจแก้ไขปัญหาอสังหาริมทรัพย์โดยรวมซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่มีทางแก้ไข
การนี้เป็นการคัดสรรช่วยเหลือผู้ที่ควรมีโอกาสที่จะช่วยเหลือตนเองได้ในการซื้อบ้านจำนวนมากหนึ่ง |
|
5.2 |
การสร้างระเบียบการจัดสรรที่อยู่อาศัยใหม่เพื่อความมั่นใจของผู้ซื้อ |
|
|
5.2.1 |
ภาพรวม
ประชาชนที่มีความสามารถในการซื้อบ้านจำนวนมาก ขาดความมั่นใจบริษัทผู้ประกอบการ
หากสามารถสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนได้ จะเป็นการส่งเสริมสภาพคล่องในการซื้อขายบ้านได้
และประกันได้ว่าผู้ซื้อบ้านจะสามารถซื้อบ้านที่ตนจองซื้อไว้ |
|
|
5.2.2 |
ประโยชน์
วางมาตรฐานการจัดสรรที่อยู่อาศัยใหม่จากการ "ขายแผ่นกระดาษ" หรือ "ขายก่อนสร้าง" เป็นการขายที่มีหลักประกันแก่ผู้ซื้อ
และจะทำให้ปัญหาทางการตลาดที่อยู่อาศัยลดน้อยลง ป้องกันการเก็งกำไรและลดปริมาณอุปทานที่ไม่มีคุณภาพ |
|
|
5.2.3 |
วิธีการ
ให้คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินสั่งการว่า โครงการที่จะขออนุญาตจัดสรรหรือก่อสร้างเพื่อเป็นอาคารชุดทั้งหลายนับแต่วันประกาศใช้ข้อบังคับใหม่นี้
ต้องมีการประกันเงินดาวน์แก่ผู้ซื้อ เงินดาวน์ไม่สามารถนำไปใช้หมุนเวียนเพื่อการประกอบการได้
หากโครงการล้มเลิกไป ผู้ซื้อต้องได้เงินดาวน์คืน แต่หากผู้ซื้อเปลี่ยนใจไม่ซื้อ
จะถูกยึดเงินดาวน์ |
|
|
5.2.4 |
ข้อสังเกต
โครงการที่ผ่านความเห็นชอบใหม่นี้ จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้มากกว่าโครงการที่ขายอยู่ในปัจจุบัน
อาจมีส่วนทำให้โครงการที่ขายอยู่ในปัจจุบันประสบปัญหาในการขายบ้าง
แต่หากโครงการปัจจุบันเหล่านี้สามารถปรับตัวเข้ากับเงื่อนไขใหม่นี้
ก็จะสามารถได้รับความสนใจจากผู้ซื้อเช่นกัน |
|
|
5.2.5 |
ข้อพึงระวัง
ผู้ประกอบการบางส่วนอาจไม่เห็นด้วย ซึ่งการนี้ต้องอาศัยความเด็ดขาดในการดำเนินการ
และอาศัยกลไกที่มีอยู่แล้วให้มากที่สุด |
|
|
5.2.6 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ถือเป็นการวางรากฐานระยะยาวในการสร้างมาตรฐานและคุณภาพการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่มีหลักประกันที่ดีแก่ประชาชน |
|
5.3 |
การขายทรัพย์สินที่อยู่อาศัยในราคาถูก |
|
|
5.3.1 |
ภาพรวม
ในปัจจุบัน ผู้ถือครองที่อยู่อาศัยจำนวนมากที่ผ่อนกับสถาบันการเงิน
ไม่สามารถผ่อนต่อไปได้ เนื่องจากประสบภาวะทางเศรษฐกิจ ผู้ที่ถือครองทรัพย์สินไว้อาจต้องการเปลี่ยนเป็นเงินสดเพื่อการใช้หนี้หรือเป็นทุนหมุนเวียน
ผู้ที่จองซื้อที่อยู่อาศัยจำนวนมากเช่นกันที่ไม่สามารถโอนบ้านจากผู้ประกอบการได้ด้วยไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
อาจทำให้สูญเสียทรัพย์สินเหล่านี้โดยเปล่าได้ การส่งเสริมให้เกิดการขายทรัพย์สินเหล่านี้ในราคาถูกจะสามารถช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านเหล่านี้ได้ |
|
|
5.3.2 |
ประโยชน์
เจ้าของทรัพย์สินสามารถลดภาระหนี้สิน ผู้จะซื้อบ้านสามารถได้ทรัพย์สินในราคาถูก |
|
|
5.3.3 |
วิธีการ
ใหกรมบังคับคดี หรือฝ่ายกฎหมายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ จัดทำรายการบ้านยึด
บ้านขาดส่งหรือบ้านของผู้ที่ประสงค์จะขายโดยตรง แล้วทำการประเมินค่าทรัพย์สินโดยบริษัทผู้ประเมินค่าทรัพย์สินที่เป็นกลางและเชื่อถือได้
และจัดทำการขายในราคาไม่เกิน 80% ของมูลค่าตลาดโดยวิธีการประมูลหรือโดยการต่อรองแล้วแต่กรณี |
|
|
5.3.4 |
ข้อสังเกต
วิธีนี้ต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางเพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนบ้าน
เพื่อประโยชน์ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจจัดเก็บค่าธรรมเนียมการดำเนินการในราคาถูก |
|
|
5.3.5 |
ข้อพึงระวัง
กรณีนี้ไม่เป็นการขายในลักษณะนายหน้าแต่เป็นการช่วยสนับสนุนให้มีการซื้อขายบ้านในราคาถูก
สำหรับการประเมินค่าทรัพย์สิน ต้องมีการตรวจสอบดำเนินการโดยบริษัทผู้ประกอบการตั้งแต่
2 แห่งขึ้นไป เพื่อความแม่นยำในมูลค่าที่ประเมิน |
|
|
5.3.6 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
การดำเนินการนี้ จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวในระบบการเงิน และช่วยให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายบ้านได้รับประโยชน์ |
|
|
6. |
มาตรการที่ไม่ควรดำเนินการ
ในช่วงที่ผ่านมา มีผู้แสดงความคิดเห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
และมีบางแนวทางหรือบางมาตรการที่ไม่น่าจะมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการ
และหากดำเนินการจะยังความผิดพลาดเพิ่มเติม ได้แก่: |
|
6.1 |
การห้ามเปิดตัวโครงการใหม่
ข้อเสนอนี้ อาจช่วยลดอุปทานที่อยู่อาศัยได้บางส่วน
แต่ก็เป็นการเปิดช่องให้เฉพาะผู้ประกอบการเท่านั้น
โครงการใหม่ ๆ อาจมีข้อเสนอที่ดีแก่ประชาชนมากกว่าก็ได้
จึงไม่ควรปิดกั้น แต่ควรมีมาตรการประกันผู้ซื้อว่าจะไม่สูญเสียเงินดาวน์
เช่น การให้นำเงินดาวน์ไปฝากธนาคาร เผื่อกรณีโครงการมีปัญหา
ผู้ซื้อต้องได้เงินดาวน์คืน หรือการที่สถาบันการเงินใด
ปล่อยกู้โครงการใดแล้วประสบปัญหา สถาบันการเงินนั้น
ควรมีส่วนรับผิดชอบด้วย เป็นต้น |
|
6.2 |
การให้การเคหะแห่งชาติเลิกสร้างที่อยู่อาศัยแข่งกับเอกชน
กรณีนี้หากเอกชนไม่สามารถแข่งขันทางธุรกิจกับการเคหะแห่งชาติได้
ก็ควรปล่อยให้เอกชนรายนั้น ๆ ล้มเลิกไป และในขณะเดียวกันที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูมิภาคยังขาดแคลน
การเคหะแห่งชาติสามารถให้การสนับสนุนในส่วนนี้ได้ดีกว่าภาคเอกชน |
|
6.3 |
การให้เงินกู้พิเศษแก่โครงการที่ประสบปัญหาในการก่อสร้าง
เพราะแม้จะก่อสร้างเสร็จก็ใช่ว่าจะมีผู้ซื้อ
ผู้ที่จองซื้อไว้ ไม่แน่ว่าจะมีความสามารถในการผ่อนสถาบันการเงินได้เพียงใด
การให้เงินกู้พิเศษนี้ จึงอาจเป็นความสูญเปล่าได้
และอาจเป็นช่องทางในการทุจริตได้เช่นกัน |
|
|
ตารางสรุปสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย กทม.และปริมณฑล
ไตรมาส 3/2540 (กันยายน) |
ภาพรวมการพัฒนาที่อยู่อาศัย
ณ ไตรมาส 3/2540 (กันยายน) |
จำนวนโครงการที่ยังขายอยู่ในตลาด
(โครงการ) |
2,129 |
เป็นจำนวนโครงการที่ยังไม่ประสบปัญหาจนหยุดขาย |
จำนวนหน่วยขายทั้งหมด
(หน่วย) |
395,567 |
มูลค่ารวม
639,463 ล้านบาท เฉลี่ย 1.617 ล้านบาท/หน่วย |
จำนวนหน่วยที่ขายได้ใน
9 เดือนแรกของปี 2540 (หน่วย) |
60,948 |
"ขาย" =
การจองซื้อ+ทำสัญญาเพราะบ้านในโครงการจัดสรรส่วนมากขายในขณะที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ |
จำนวนหน่วยที่ยังเหลืออยู่ในขณะนี้
(หน่วย) |
123,916 |
รวมมูลค่าประมาณ
184,864 ล้านบาท |
ระยะเวลาที่ต้องใช้เพื่อขายหน่วยที่ยังเหลือนี้
(เดือน) |
17.5 |
เพราะเดือนหนึ่ง
ๆ ขายได้เพียงประมาณ 3,483 หน่วย |
โครงการเกิดใหม่ในปี
2540 |
จำนวนหน่วยเกิดใหม่ทั้งหมด
(มกราคม - กันยายน) |
31,277 |
มูลค่ารวม
51,097 ล้านบาท เฉลี่ย 1.634 ล้านบาท/หน่วย |
จำนวนหน่วยที่ขายได้ใน
9 เดือนแรกของปี 2540 (หน่วย) |
10,252 |
ยังเหลืออีก
21,025 หน่วยซึ่งรวมไว้ใน 123,916 หน่วยแล้ว |
ความเสียหายในภาคธุรกิจ |
จำนวนโครงการที่สำรวจทั้งหมด |
3,222 |
รวมทั้งที่ยังขายอยู่และยกเลิกไปแล้วทั้งโครงการ/บางส่วน |
จำนวนโครงการที่ยังขายอยู่
ไม่ได้หยุดดำเนินการทั้งโครงการ |
2,129 |
ยังขายอยู่แต่อาจมีการเปลี่ยน/ยกเลิกแบบบ้านบางแบบบ้าง |
จำนวนโครงการที่เลิกขายไปบางส่วน |
692 |
โครงการยังอยู่
แต่บางแบบบ้านเลิกไปแล้ว |
จำนวนโครงการที่ยังขายอยู่ครบทุกแบบบ้านไม่เปลี่ยนแปลง |
1,437 |
โครงการเหล่านี้ยังไม่มีปัญหา
ณ สิ้นไตรมาส 3/2540 |
จำนวนโครงการที่ยกเลิกไปแล้วทั้งโครงการ |
1,093 |
ยกเลิกไปหมดทั้งโครงการ
ไม่มีบ้านเสนอขายอีก |
จำนวนหน่วยขายทั้งหมดที่ยกเลิกไปแล้ว |
312,377 |
จากทั้งโครงการที่ยกเลิกไปแล้วโครงการหรือบางส่วน |
มูลค่าของหน่วยขายที่ยกเลิกไปแล้ว
(ล้านบาท) |
427,598 |
เฉลี่ยหน่วยละ
1.369 ล้านบาท |
อุปทานเหลือที่แท้จริง |
หน่วยเหลือรวม
ณ สิ้นไตรมาส 3/2540 |
123,916 |
(ดังรายละเอียดข้างต้น) |
จำนวนหน่วยที่อาจยกเลิกในอนาคต |
50,808 |
หน่วยที่เปิดขายมาเกิน
6 เดือนและยังขายได้ไม่เกิน 30% |
อุปทานที่จะเหลือรอดอยู่จริงในตลาด |
73,108 |
จำนวนหน่วยเหลือรวม
- หน่วยที่อาจยกเลิกในอนาคต |
|
ผลการสำรวจสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 3/2540,
บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด,
กันยายน 2540 |
|
7. |
มาตรการเสริมที่จำเป็นในระยะยาวแต่เป็นรูปธรรมในระยะสั้น:
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ |
|
7.1 |
ปัญหา
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จนเกินความต้องการนี้ ส่วนหนึ่งเพราะผู้ประกอบการรวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนไม่รับทราบข้อมูล |
|
7.2 |
ลักษณะของศูนย์ข้อมูล
ในปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งของภาครัฐบาลทำหน้าที่คล้ายศูนย์ข้อมูล
แต่ศูนย์ข้อมูลจริงต้องมีข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในภาคสนามเป็นหลัก
โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลใหม่ ๆ นำเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ |
|
7.3 |
ประโยชน์ที่จะได้รับ
การมีมาตรการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลอย่างต่อเนื่องถือเป็นรูปธรรมหนึ่งในการแก้ไขปัญหาอสังหาริม-ทรัพย์
ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับในนานาชาติ และเป็นประโยชน์เฉพาะหน้าแก่รัฐบาลในการวางแผนการแก้ไขปัญหาอย่างทันการณ์และต่อเนื่อง |
|
7.4 |
กิจกรรมการดำเนินการ
สำรวจตลาดอสังหาริมทรัพย์ในแง่ของการเปิดตัวโครงการใหม่ ความคืบหน้าในการก่อสร้าง
สถานการณ์การตลาดและการขายโดยแบ่งตามจังหวัด เมือง ทำเล แบบบ้านและระดับราคาที่ชัดเจน
ซึ่งจะให้ทั้งภาพรวมและรายละเอียดของปัญหาอย่างชัดเจน |
|
7.5 |
แนวทางการดำเนินการ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการหรือร่วมมือกับภาคเอกชนที่สามารถดำเนินการได้ |
|
|
อนึ่ง
หากบริษัทฯ สามารถให้การสนับสนุนประการใดได้เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาอสังหา-ริมทรัพย์ที่เสนอข้างต้นนี้
บริษัทฯ ยินดีให้ความร่วมมือและพร้อมจะนำเสนอข้อมูลต่อ
ฯพณฯ ในรายละเอียดต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
|
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
(นาย.โสภณ พรโชคชัย)
กรรมการผู้จัดการ |
|
สำเนาจดหมายตอบจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
|
ที่ นร 0108.22/3552 |
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล กทม.10300 |
|
10 กุมภาพันธ์ 2543 |
เรื่อง |
เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาอสังหาริมทรัพย์ |
|
|
|
|
อ้างถึง |
หนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ที่ นร 0108.22/3440 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์
2541 |
|
|
ตามหนังสือที่อ้างถึง
แจ้งผลการพิจารณาของกรมที่ดินเกี่ยวกับเรื่องที่ท่านเสนอข้อมูลและแนวทางที่เป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาอสังหาริมทรัพย์รวมหลายประการ
มาเพื่อทราบ ความแจ้งอยู่แล้วนั้น
บัดนี้
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดินได้แจ้งผลการพิจารณาให้ทราบ
ดังนี้
1.
การให้ต่างชาติเจ้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออาคาร ได้มีการออกพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน
(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2542 (คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท อาจได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกิน
1 ไร่) และพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 (คนต่างด้าวซื้อห้องชุดได้
100% ภายในเวลา 5 ปี และเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าว)
แล้ว
2.
การลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียมในการโอนบ้าน ได้มีการออกกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (พ.ศ.2541)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และกฎกระทรวงฉบับที่
6 (พ.ศ.2542) และฉบับที่ 7 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522
เพื่อลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดในกรณีต่าง
ๆ แล้ว
3.
การส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืน กรมที่ดินได้ยกร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ... โดยมีสาระสำคัญตามข้อเสนอแนะบางประการแล้ว เช่น ผู้ขอทำการจัดสรรต้องเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน
การกำหนดหน้าที่และการพ้นหน้าที่ในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดสรร
การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
สภาผู้แทนราษฎร
จึงเรียนมาเพื่อทราบ ขอแสดงความนับถือ
(นายณรงค์ เนตรหิน)
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร
ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ศูนย์บริการประชาชน
โทร.281-0106 โทรสาร 281-4358
c9:m-sopon 27/1/43 24301059.doc |