Eng
ไทย
หน้าแรก เกี่ยวกับมูลนิธิ หลักการประเมินค่าทรัพย์สิน มาตรฐานจรรยาบรรณ
อัตราผลตอบแทน
มาตรฐานราคาค่าก่อสร้าง บทความความรู้ข้อแนะนำ เว็บบอร์ด ติดต่อมูลนิธิ
ราคาประเมิน
ค่าก่อสร้าง
อาคาร
พ.ศ.
รายละเอียด
การก่อสร้าง
ของอาคาร
แต่ละประเภท
ภาคผนวก1:
การแต่งตั้ง
คณะทำงาน
พ.ศ.2544
ภาคผนวก2:
หนังสือ
ขอรับความเห็น
พ.ศ.2544
ภาคผนวก3:
รายงานประชุม
จัดทำราคา
พ.ศ.2544
ภาคผนวก4:
การประกาศใช้
รายงาน
พ.ศ.2544
ภาคผนวก5:
รายงานประชุม
จัดทำราคา
พ.ศ.2545
ภาคผนวก6:
รายงานประชุม
จัดทำราคา
พ.ศ.2547
ภาคผนวก7:
รายงานประชุม
จัดทำราคา
พ.ศ.2549
ภาคผนวก8:
รายงานประชุม
จัดทำราคา
พ.ศ.2550
ภาคผนวก9:
รายงานประชุม
จัดทำราคา
พ.ศ.2551
ภาคผนวก10:
รายงานประชุม
จัดทำราคา
พ.ศ.2553
ภาคผนวก11:
รายงานประชุม
จัดทำราคา
พ.ศ.2554
ภาคผนวก11:
รายงานประชุม
จัดทำราคา
พ.ศ.2555
ภาคผนวก12:
รายงานประชุม
จัดทำราคา
พ.ศ.2556
ราคาประเมินมูลค่าเครื่องจักร
และอุปกรณ์ด้วยวิธีต้นทุน
(Cost Approach)

ประกาศสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
ที่ 1/2547
เรื่อง การประกาศใช้ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2547

 
 
ตามที่สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดราคาค่าก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2547
ไว้เป็นข้อมูลเบื่องต้นในการทำงานของสมาชิกโดยมี ผ.ศ. อัศวิน พิชญโยธิน เป็นประธาน นั้น
 
  บัดนี้ คณะทำงานได้จัดทำบัญชีราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2547 เสร็จแล้ว โดยจัดทำราคาประเมินย้อนหลังไปใน
ปี พ.ศ. 2546 เพื่อเปรียบเทียบด้วย รายละเอียดปรากฏตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้
 
  จึงขอประกาศบัญชีกำหนดราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2547 ให้สมาชิกของสมาคมทราบโดยทั่วกัน และนำไปใช้
เป็นข้อมูลอ้างอิงในการปฏิบัติงานต่อไปได้
 
 
ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฏาคม 2547
(นายบัญญัติ จันทน์เสนะ)
นายกสมาคม
 
รายงานการประชุมคณะทำงานกำหนดราคาประเมินค่าก่อสร้าง พ.ศ. 2547
ครั้งที่ 1: 6 พฤษภาคม 2547


คณะทำงานที่เข้าร่วมประชุม 1. ผศ.อัศวิน พิชญโยธิน ประธาน
  2. นายสุเทพ รอดจากภัย คณะทำงาน
  3. นายโสภณ พรโชคชัย เลขานุการคณะทำงาน
     
ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายพลเทพ อาริยวัฒน์ แทน ดร.พิเชษฐ์ อาริยวัฒน์
  2. นายศิริ กิจถาวร แทน ดร.พิเชษฐ์ อาริยวัฒน์
     
คณะทำงานที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม 1. นางปฤษฐา ติราศัย คณะทำงาน
  2. นายพนม กาญจนเทียมเท่า คณะทำงาน
  3. นายปฏิมา จีระแพทย์ คณะทำงาน
  4. นายวสันต์ คงจันทร์ คณะทำงาน
     
เริ่มประชุมเวลา 15:00 น. ณ ห้องประชุม 406 ศิริดาเพลส
 
วาระที่ 1: ประธานแจ้งให้ทราบ
           1.1 ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ทางคณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้แต่งตั้งคณะทำงานนี้ขึ้น ตามคำสั่งเลขที่ 1/2547 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 โดยนายบัญญัติ จันทน์เสนะ นายกสมาคม และการประชุมคณะทำงาน ครั้งนี้ต่อเนื่องจากชุดการประชุมเมื่อปี 2545 และประธานได้รับข้อมูลประกอบการพิจารณาวางกรอบการกำหนดมาตรฐานราคาแล้ว พร้อมกับได้เตรียมเอกสารสรุปแจกจ่ายแก่ที่ประชุมด้วย
ที่ประชุม รับทราบ
  1.2 ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงภาวะตลาดการก่อสร้างเป็นกรณีศึกษาต่าง เพื่อเป็นข้อพิจารณาประกอบในการจัดทำมาตรฐานราคาดังนี้
1.2.1 ค่าก่อสร้าง โดยเฉพาะเหล็กได้เพิ่มขึ้นจาก 200 เหรียญสหรัฐต่อตันในเดือนธันวาคม 2546 เป็นประมาณ 430 เหรียญสหรัฐ ต่อตัน และคาดว่าในระยะใกล้นี้ (1-2 ปี) ราคาคงยังไม่ลด
1.2.2 ราคาน้ำมันก็ขึ้นสูงสุดในระยะ 13 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะไม่ลดลงในระยะเวลานี้
1.2.3 ราคาปูนซีเมนต์ มีการปรับตัวขึ้น ๆ ลง ๆ ยังไม่มีความชัดเจนนัก
1.2.4 ค่าแรงไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนักในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ในอนาคตคาดว่าจะปรับสูงขึ้น
ที่ประชุม รับทราบ
วาระที่ 2: เรื่องเพื่อพิจารณา
  2.1 แนวทางการพิจารณาราคามาตรฐาน
2.1.1 ประธานเสนอให้กำหนดราคามาตรฐาน ณ เดือนพฤษภาคม 2547 และให้กำหนดราคามาตรฐานสำหรับปี 2546 ด้วยใช้ข้อมูลราคาค่าก่อสร้าง ณ กรกฎาคม 2546 และเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2545 (จากการจัดทำครั้งก่อน)
2.1.2 ให้องค์ประกอบมาตรฐานราคาประกอบด้วย ค่าก่อสร้างตามสัญญาก่อสร้างเท่านั้น ซึ่งได้ แก่ ค่าวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ (ในงานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบประกอบอาคาร) ค่าแรงงานก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายทั่วไปในการก่อสร้างและกำไรของผู้รับเหมาและค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%) และสบทบกองทุนต่าง ๆ (0.96%) โดยไม่รวมค่าดอกเบี้ยลงทุนก่อสร้าง บริหารโครงการ ออกแบบควบคุมงาน โฆษณาประชาสัมพันธ์ และค่าบริหารการขาย
2.1.3 ค่าก่อสร้างนี้จัดทำขึ้นสำหรับสิ่งก่อสร้างทั่วไป กรณีที่มีลักษณะพิเศษหรือมีต้นทุนที่สูง-ต่ำผิดปกติจำเป็นที่จะต้องคำนวณอย่างละเอียดโดยการถอดแบบก่อสร้างเป็นราย ๆ ไป โดยไม่สามารถใช้มาตรฐานราคาค่าก่อสร้างนี้
2.1.4 ค่าก่อสร้างนี้ ไม่รวมค่ากำแพงกันดินในระหว่างการก่อสร้าง (sheet pile) หรือกรรมวิธีในการก่อสร้างพิเศษไปจากทั่วไป
2.1.5 ค่าก่อสร้างที่กำหนดนี้ใช้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในพื้นที่อื่นผู้ใช้ต้องปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม โดยควรมีเหตุผลประกอบการปรับเปลี่ยนด้วย
2.1.6 สิ่งที่ควรเข้าใจเกี่ยวกับค่าก่อสร้างก็คือ แม้ราคาค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นด้วย แต่ไม่ใช่หมายความว่าราคาขายอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังขึ้นอยู่กับค่าที่ดินด้วย และ ยังขึ้นอยู่กับภาวะตลาด อุปทานในท้องตลาดอีกต้วย ในบางครั้งค่าก่อสร้างขึ้น แต่ราคาอสังหาริมทรัพย์อาจไม่ได้เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกัน
ที่ประชุม ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และลงมติเห็นด้วย
  2.2 การกำหนดอัตราการเพิ่มขึ้นของราคา: ที่ประชุมได้พิจารณาเอกสารประกอบการประชุม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลดัชนีความเปลี่ยนแปลง และราคาค่าวัสดุ อุปกรณ์และค่าแรงต่าง ๆ ที่ได้จัดหามาเพื่อการประชุมนี้และที่ได้จัดหาเพิ่มเติมระหว่างการประชุม
ที่ประชุม รับข้อมูลเหล่านี้ไว้ประกอบการพิจารณาในรายละเอียด และได้คำนวณในเบื้องต้นพบว่า ราคาค่าก่อสร้างโดยรวมควรที่จะเพิ่ม
ขึ้นจากปี 2543 ประมาณ 4.0-6.5% ซึ่งการประชุมครั้งต่อไปจะได้พิจารณาในรายละเอียดต่อไป และได้มอบหมายให้เลขานุการคณะทำงานไปรวบรวมเอกสารเพิ่มเติมดังนี้:
2.2.1 ค่าก่อสร้างอาคารของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
2.2.2 ความเห็นของผู้ใช้ราคาค่าก่อสร้างที่ทางสมาคมฯ กำหนด โดยมอบหมายให้เลขานุการคณะทำงานจะได้ทำหนังสือขอความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง
วาระที่ 3: เรื่องอื่น ๆ
  3.1 กำหนดวันประชุมครั้งที่ 2/2547 ในวันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2547 เวลา 14:30 น. ที่ประชุม รับทราบ
 
ปิดประชุมเวลา 16:30 น.
ดร.โสภณ พรโชคชัย
กรรมการและเลขานุการคณะทำงาน
  
รายงานการประชุมคณะทำงานกำหนดราคาประเมินค่าก่อสร้าง พ.ศ. 2547
ครั้งที่ 2: 1 มิถุนายน 2547
คณะทำงานที่เข้าร่วมประชุม 1. ผศ.อัศวิน พิชญโยธิน ประธานคณะทำงาน
  2. ดร.พิเชษฐ์ อาริยวัฒน์ คณะทำงาน
  3. นายสุรพงษ์ ตรีสุกล แทน นายวสันต์ คงจันทร์
  4. ดร.โสภณ พรโชคชัย เลขานุการคณะทำงาน
     
ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายวันชัย ตัณฑ์สกุล เลขาธิการสมาคมผู้ประเมินค่าฯ
  2. นายพลเทพ อาริยวัฒน์ บจก. Asian Alliance Appraisal
  3. นายจรูญศักดิ์ ฟองทอง บริษัทที่ปรึกษาเฟิร์สสตาร์
     
คณะทำงานที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม 1. นางปฤษฐา ติราศัย คณะทำงาน
  2. นายพนม กาญจนเทียมเท่า คณะทำงาน
  3. นายปฏิมา จีระแพทย์ คณะทำงาน์
  4. คุณสุเทพ รอดจากภัย คณะทำงาน
     
 
เริ่มประชุมเวลา 15:25 น. ณ ห้องประชุม 406 ศิริดาเพลส
 
วาระที่ 1: ประธานแจ้งให้ทราบ
           1.1 ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงภาวะตลาดการก่อสร้างในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อพิจารณาประกอบในการจัดทำมาตราฐานราคาดังนี
1.1.1 ราคาเหล็กก่อสร้าง ในช่วงปี 2546-2547 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยตลอด ดังนี้
 
  • เดือน มค.46 ราคาขาย 13,600 บาท/ตัน
  •  
  • เดือน มิย.46 ราคาขาย 15,000 บาท/ตัน
  •  
  • เดือน กพ.47 ราคาขาย 21,000 บาท/ตัน
  •   ซึ่งราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงกับค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น รวมถึงงานก่อสร้างหลายงานที่ได้มีการเซ็นสัญญาไปแล้ว ทั้งนี้สาเหตุน่าจะมาจากที่เศรษฐกิจของทางประเทศจีนที่มีการพัฒนาเติบโตที่อัตราที่สูง จึงทำให้มีการก่อสร้างมากซึ่งต้องใช้เหล็กก่อสร้างสูงด้วยเช่นกัน
    1.2.2 น้ำมันที่มีราคาสูงขึ้น จากที่นักวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจได้พิจารณาตามปัจจัยต่าง ๆพบว่าราคาน้ำมันโอกาสที่ปรับตัวลดลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้าคงยาก
      ที่ประชุมรับทราบ
    วาระที่ 2: เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1 (6 พฤษภาคม 2547)
      คณะกรรมการได้รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1 โดยให้มีการแก้ไขดังนี้
    2.1 ข้อ 1.2.1 ข้อความว่า ...และคาดว่าในระยะใกล้นี้ (1-2 ปี )
    2.2 ข้อ 2.1.1ให้แก้ไข “กรกฎาคม” เป็น “มิถุนายน”
    2.3 ข้อ 2.2 ให้ตัดข้อความต่อไปนี้ “และได้คำนวณในเบื้องต้นพบว่า ราคาค่าก่อสร้างโดยรวมควรจะเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ประมาณ 4.0-6.5% ซึ่งการประชุมครั้งต่อไปจะได้พิจารณาในรายละเอียดต่อไป”
    วาระที่ 3: เรื่องเพื่อพิจารณา
      สำหรับแนวทางการพิจารณาราคามาตรฐาน ที่ประชุมได้กำหนดเพิ่มเติมดังนี้:
      3.1 ประธานสั่งให้หาข้อมูลราคาค่าวัสดุก่อสร้าง ณ เมษายน 2547 หรือที่ล่าสุดเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าวัสดุก่อสร้างในเดือน มิถุนายน 2546 (ซึ่งมีข้อมูลอยู่แล้ว)
      3.2 ข้อมูลปริมาณเหล็กที่ใช้ในอาคารแต่ละประเภท โดยพิจารณาต่อพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งทางประธานคณะทำงานมีข้อมูลอยู่ เช่น อาคารบ้านเดี่ยว จะใช้ปริมาณเหล็ก 40 กก./ตรม., ทาวน์เฮ้าส์ จะใช้ปริมาณ เหล็ก 35 กก./ตรม. และอาคารตึกขนาดใหญ่ จะใช้ปริมาณเหล็ก 70-80 กก./ตรม. เป็นต้น จะใช้เป็นแนวทางในการปรับใช้กับค่าก่อสร้างวัสดุเหล็กที่ปรับขึ้น ในปัจจุบัน โดยค่าเหล็กที่เพิ่มขึ้น ในช่วงเดือนมิย.46 ถึง กพ.47 โดยสรุปน่าจะทำให้ราคาค่าก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.5-4 %
      3.3 ดัชนีราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างรวม สามารถนำมาพิจารณาประกอบเป็นเกณฑ์ของราคามาตราฐานได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ค่าก่อสร้างที่ปรับเพิ่มขึ้น อย่างเช่น กรณีดัชนีรวมเดือน มิย. 2546 เท่ากับ 135.5 และในเมย. 2547 เท่ากับ 150.6 เท่ากับมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 10 % ไม่ได้หมายความว่าค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น 10 % เนื่องจากต้องพิจารณาตามลักษณะอาคาร เช่น อาคารที่จอดรถ อาจจะเพิ่มขึ้นถึง 20 % (อาคารที่จอดรถวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง ส่วนใหญ่จะเป็นคอนกรีต และเหล็ก)
      3.4 ในการพิจารณาค่าแรงงาน ทางประธานคณะทำงานแจ้งราคาน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาระเศรษฐกิจดีขึ้น ทางผู้รับเหมาก่อสร้างจะบวกกำไรเพิ่มขึ้นทำให้ค่าแรงปรับเพิ่มขึ้นด้วย
      3.5 ควรจะหา BOQ ของงานที่ก่อสร้างจริงไปแล้ว ในปี 2546-2547 นำมาใช้ประกอบการพิจารณาเปรียบเทียบกับราคาค่าก่อสร้างของสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินไทย ปี 2545
      3.6 ราคาค่าก่อสร้าง ตามมาตราฐานสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินไทย มีผู้นำไปใช้แล้วแจ้งว่าราคาต่ำเกินไป โดยนำไปเปรียบเทียบกับบ้านในโครงการจัดสรร ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องซึ่งราคาค่าก่อสร้างบ้านโครงการบ้านจัดสรร เป็นราคาขายโครงการซึ่งได้บวกกำไรและค่าดำเนินการต่างๆไว้พอสมควร ดังนั้นการจัดทำมาตราฐานค่าก่อสร้างใหม่ควรจำมีการระบุให้ชัดเจนถึงข้อจำกัดการนำไปใช้ไว้ด้วย
      3.7 ราคาขายบ้านพร้อมที่ดิน มีข้อน่าสังเกตว่าไม่ได้ปรับราคาเพิ่มขึ้นมากนัก ทั้งที่ค่าวัสดุก่อสร้างได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก เหตุผลน่าจะมาจากราคาที่ดินที่ปรับตัวลดลงจากช่วงเศรษฐกิจที่บูม เมื่อรวมกับค่าก่อสร้างที่เพิ่มมากขึ้น โดยรวมแล้วไม่ได้ทำให้ราคาปรับเพิ่มขึ้น จึงทำให้ราคาขายไม่ปรับเพิ่มขึ้นมาก
    วาระที่ 4: เรื่องอื่น ๆ
      4.1 กำหนดวันประชุมครั้งที่ 3/2547 เป็นวันใดวันหนึ่งในช่วงวันที่ 22-24 มิถุนายน 2547 เวลา 14:30 น.โดยให้เลขานุการคณะทำงานไปประสานกับประธานและคณะทำงานเพื่อกำหนดวันที่สมควรต่อไป
      ที่ประชุม รับทราบ
     
    ปิดประชุมเวลา 17:00 น
    ดร.โสภณ พรโชคชัย
    กรรมการและเลขานุการคณะทำงาน
     
    รายงานการประชุมคณะทำงานกำหนดราคาประเมินค่าก่อสร้าง พ.ศ. 2547
    ครั้งที่ 3: 7 กรกฎาคม 2547
    คณะทำงานที่เข้าร่วมประชุม 1. ผศ.อัศวิน พิชญโยธิน ประธานคณะทำงาน
      2. ดร.พิเชษฐ์ อาริยวัฒน์ คณะทำงาน
      3. นางปฤษฐา ติราศัย คณะทำงาน
      4. นายสุเทพ รอดจากภัย คณะทำงาน
      5. นายสุรพงษ์ ตรีสุกล แทน นายวสันต์ คงจันทร์
      6. นายโสภณ พรโชคชัย เลขานุการคณะทำงาน
    ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายวันชัย ตัณฑ์สกุล เลขาธิการสมาคมผู้ประเมินค่าฯ
      2. นายพลเทพ อาริยวัฒน์ บจก. Asian Alliance Appraisal
      3. นายเจษฎา อุดมศิริรัตน์ ผู้ช่วย ดร.พิเชษฐ์ฯ
         
    คณะทำงานที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม 1. นายพนม กาญจนเทียมเท่า คณะทำงาน
      2. นายปฏิมา จีระแพทย์ คณะทำงาน
         
     
    เริ่มประชุมเวลา 15:20 น. ณ ห้องประชุม 406 ศิริดาเพลส
     
     
    วาระที่ 1:ประธานแจ้งให้ทราบ
               1.1 ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบ เพื่อเป็นข้อพิจารณาประกอบในการจัดทำมาตราฐานราคาดังนี
      1.1.1 ปัจจุบันมีข้อมูลราคาวัสดุก่อสร้างจากสำนักงานเศรษฐกิจการค้า ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ถึง ประมาณ 2,500 รายการของเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2547
      1.1.2 ค่าก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย ในปี 2547 มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น
      1.1.3 ค่าแรงงาน ปี 2545-2547 ยังไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามค่าแรงงานขั้นต่ำไม่ขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้วมีการจ้างงานค่าแรงงานที่สูงขึ้น
      1.1.4 ผลกระทบของผังเมือง ซึ่งสถานะการล่าสุดที่ทราบ จะมีการประกาศใช้ผังเมืองรวมใหม่กรุงเทพมหานคร ประมาณปลาย ปี 2547
      1.1.5 ข้อมูลราคาค่าก่อสร้างตามมาตราฐานสมาคมฯ การนำไปใช้ควรจะต้องดูรายละเอียดทั้งเล่ม
    วาระที่ 2:เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 2 (1 มิถุนายน 2547)
      คณะกรรมการได้รับรองการประชุมครั้งที่ 2 โดยมีการแก้ไขดังนี้
      2.1 ในข้อ 1.1.1 เพิ่มเติมข้อความ เดือน เมย.47 ราคาขายเหล็กก่อสร้าง 23,000 บาท/ตัน และให้หมายเหตุ เป็นราคาขายไม่รวมค่าขนส่ง และ VAT 7%
    วาระที่ 3: เรื่องเพื่อพิจารณา
      3.1 แนวทางการพิจารณาราคามาตราฐานี
      3.1.1 ประธานแจ้งให้หาข้อมูลราคาค่าวัสดุก่อสร้าง ณ มิถุนายน 2547 เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าวัสดุก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2546 (ซึ่งมีข้อมูลอยู่แล้ว) จะได้เป็นข้อมูลที่ครบรอบ 1 ปี พอดี รวมถึงดัชนีค่าก่อสร้างในเดือน พค.-มิย. 47
      3.1.2 จากการวิเคราะห์ดัชนีรวมสินค้าวัสดุก่อสร้าง ได้ข้อสรุปตรงกันว่าจะไม่ใช้อัตราส่วนเทียบปีต่อปี ไปปรับใช้กับค่าก่อสร้างโดยตรง เนื่องจากราคาวัสดุก่อสร้างบางอย่างก็ปรับเพิ่มขึ้นสูง เช่น เหล็ก, คอนกรีต และ ไม้แต่บางส่วนราคาไม่ได้มีการการเปลี่ยนแปลงมากนัก เช่น สุขภัณฑ์
      3.1.3 ทั้งนี้ได้พิจารณามาตราฐานค่าก่อสร้างอาคาร ในปี 2546 ซึ่งยังไม่ได้มีการกำหนดไว้โดยจากการวิเคราะห์ค่าวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวที่ส่งผลต่อราคาค่าก่อสร้าง สามารถแบ่งกลุ่มการพิจารณาได้ เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
     
  •  
  • กลุ่มที่ 1 อาคารขนาดเล็ก ที่ก่อสร้างด้วยไม้เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ บ้านไม้ ห้องแถวไม้
     
  •  
  • กลุ่มที่ 2 อาคารขนาดเล็ก ที่โครงสร้างเป็นคอนกรีต ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ซึ่งมีการใช้วัสดุหลายประเภท
     
  •  
  • กลุ่มที่ 3 อาคารขนาดใหญ่ ได้แก่ อาคารตึกสูงกว่า 6 ชั้นขึ้นไป
     
  •  
  • กลุ่มที่ 4 อาคารจอดรถ, อาคารโรงงาน, โกดัง
      3.2 การวิเคราะห์ราคาค่าก่อสร้างประจำปี พ.ศ. 2546 และ 2547 (พฤษภาคม)
    โดยที่มีข้อมูลดัชนีค่าก่อสร้างปี 2546 (มิถุนายน) และปี 2547 (พฤษภาคม) คณะทำงานจึงได้กำหนดราคาค่าก่อสร้างตามแนวทางในข้อ 3.1 โดยได้กำหนดค่าก่อสร้างเสร็จสิ้นไว้แล้วในที่ประชุมนี้
      3.3 การกำหนดราคาค่าก่อสร้าง พ.ศ. 2547 (ณ เดือนมิถุนายน)
    อย่างไรก็ตามโดย เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของราคาค่าก่อสร้าง คณะทำงานจึงให้ใช้ดัชนีราคาค่าก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2547 แทน ของเดือนพฤษภาคม 2547 แต่ ณ ขณะประชุม ดัชนีดังกล่าวทางกระทรวงพาณิชย์ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
         
      คณะทำงานจึงได้ปรึกษากับเลขาธิการสมาคมฯ (นายวันชัยฯ) ซึ่งให้ความกรุณาเข้าร่วมประชุมประชุมด้วย และได้ข้อสรุปว่า ให้เลขานุการคณะทำงาน (นายโสภณฯ) ไปจัดหาดัชนีราคาค่าก่อสร้างของเดือนมิถุนายน 2547 และนำไปปรับปรุงตัวเลขใหม่ตามแนวทาง ที่ทางคณะทำงานได้กำหนดไว้แล้วตามข้อ 3.2 แล้วนำเสนอต่อเลขาธิการสมาคมฯ เพื่อให้นายกสมาคมฯ ลงนามประกาศใช้เพื่อให้ทันกับความต้องการของสมาชิกต่อไป
     
    ปิดประชุมเวลา 18:00 น.
    ดร.โสภณ พรโชคชัย
    กรรมการและเลขานุการคณะทำงาน
    Area Trebs
     
    10 ถนน.นนทรี กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์:66 2295 3171: โทรสาร: 66 2295 3994 Email: info@thaiappraisal.org   สถานที่ตั้ง: แผนที่