คำตอบ: |
กิตติ
พัฒนพงศ์พิบูล
อุปนายกสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อดีตรองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
และอดีตกรรมการผู้จัดการ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ซึ่งท่านเป็นผู้ริเริ่มว่าจ้าง
บริษัทประเมิน ให้ทำงานประเมิน
แทนพนักงานของธนาคาร |
ในกรณีของธนาคารอาคารสงเคราะห์
(ธอส.) ในสมัยที่ผมเป็นกรรมการผู้จัดการอยู่นั้น |
- เปลี่ยนงานฝ่ายประเมิน
ธอส.เป็นงานตรวจสอบ การประเมินของบริษัทประเมินเอกชนไทยยังไม่มีกฏหมายควบคุมผู้ประเมินและความชำนาญยังไม่มาก การควบคุมเจ้าหน้าที่ประเมินยังไม่ดี
เป็นอาชีพใหม่ในไทย การใช้ผู้ประเมินภายนอกทำให้งานพนักงานประเมินธอส.ลดลงจึงเปลี่ยนงานให้เป็นงานป้องกันความผิดพลาดโดยให้ไปประเมินซ้ำโดยสุ่มตัวอย่าง10-20%ของรายงานประเมินเอกชน
- เชิญบริษัทประเมินเอกชนรับทราบผลการประเมินตรวจสอบของธอส.ทุกเดือนให้บริษัทเอกชนรู้ว่าธอส.ไม่ปล่อยตามใจชอบและจะได้นำข้อบกพร่องที่ธอส.พบไปปรับปรุงตัวเอง ให้มีมาตราฐานสูงขึ้นการพบกันไม่ใช่การคอยจับผิดแต่ให้โอกาศบริษัทแก้ใขก่อนเกิดเหตุรุนแรงซึ่งจะเสียหายทั้งธอส.บริษัทประเมินและผู้ก
- ให้บริษัทรับผิดชอบความเสียหายในวงเงินจำนวนหนึ่งโดยมีเครื่องมือให้บริษัทเอกชนนำเงินมาฝากประกันไว้ด้วย
- จัดตั้งสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินควบคุมและพัฒนาผู้ประเมินเป็นความพยายามให้ผู้ประเมินร่วมมือกันเองในการเพิ่มมาตราฐานและคุมจรรยาบรรณกันเองตามวิธีการสากลของวิชาชีพนี้
- ให้เงินสมาคมจัดการฝึกอบรมผู้ประเมินเป็นระยะเพื่อให้วิชาชีพนี้ก้าวหน้ามีคุณภาพในระดับสูงขึ้นและเพิ่มจำนวนผู้ประเมินมารองรับจำนวนผู้กู้ในอนาคตเป็นประโยชน์แก่ธอส.
- กำหนดงานและแบบรายงานสำรวจและประเมินราคาเป็นการกำหนดมาตราฐานขั้นต่ำที่บังคับการปฏิบัตงานของผู้ประเมินเพื่อตรวจสอบใด้ด้วย
- กำหนดวงเงินกู้เป็นอัตราต่อรายได้เพื่อไม่ให้เอาราคาประเมินมากู้มากๆอย่างที่เคยทำกัน
โดยให้มีหลักฐานรายใด้ รายใด้ที่ไม่แน่นอนในระยะยาวกำหนดวงเงินกู้ต่ำกว่าเงินเดือน
|
มาตราการเหล่านี้ต้องใช้ประกอบกันจึงจะใด้ผลลดความเสี่ยงความผิดพลาดและมีต้นทุนต่ำไม่ใช่คิดแต่เรื่องจับผิดและลงโทษหลังจากเกิดความเสียหาย ซึ่งในเชิงธุรกิจจะล้มเหลวและมีต้นทุนสูง |