วิสัยทัศน์ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ความคาดหวังในฐานะนักวิชาชีพด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ขอฝากท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในอนาคต
 

นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล
ประธานกรรมการ สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย
          1. จะทำอย่างไรสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่จะสามารถซื้อที่อยู่ของตนเองได้
          2. สิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัย
          3. กรุงเทพมหานครเป็นผู้ออกกฎการก่อสร้าง น่าจะมีการประสานกัน
          4. ปัญหาค่าบริการรถไฟฟ้าที่สูงเกินไปสำหรับผู้มีรายได้น้อย
          5. เรื่องการเพิ่มปริมาณที่อยู่อาศัยสำหรับคนในชุมชนเมืองที่หนาแน่น

นายประยูร ดำรงชิตานนท์
นายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
          1. เรื่องลดค่าภาษีที่เกี่ยวข้องกับระบบบำบัดน้ำเสีย
          2. เรื่องภาษีที่ดิน ที่น่าจะมีการยกเลิกภาษีที่ดินที่รักษาสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แก่ผู้ทำโครงการที่
             สนับสนุนเรื่องสิ่งแวดล้อม
          3. เรื่องภาษีป้าย เช่น ป้ายอาคารชุด ป้ายโครงการ สำหรับที่โอนเงินและทำการซื้อ-ขายเรียบร้อยแล้ว แต่ป้ายที่ติด
             ไว้นั้นสำหรับบอกทางเท่านั้น ควรจะรับการยกเว้นภาษีป้าย
          4. เรื่องการป้องกันและการจัดการสาธารณภัย
          5. เรื่องการควบคุมการใช้อาคารและการต่อเติมอาคารให้ถูกต้อง
          6. เรื่องกรุงเทพเป็นเมืองที่น่าอยู่ของคนทุกชาติ เพราะปัจจุบันคนหลายชาติเข้ามาในประเทศมากขึ้น

นายประสงค์ เอาฬาร
นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร
          1. ขอบเขตและอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่จะบริหารท้องถิ่นและประสานงานกับภาครัฐบาล
          2. ปัญหาการจราจร ระบบขนส่งมวลชน น่าจะมีการขยายโครงข่ายมากขึ้น
          3. เรื่องของผังเมือง ไม่ว่าจะเป็นทำงาน หรือที่พักผ่อน โรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ปะปนกันอยู่ ซึ่งน่าจะควรจัดให้เป็นโซน ๆ

น.พ.สมศักดิ์ มุนีพีระกุล
นายกสมาคมตัวแทนและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์
          1. การใช้พื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ควรมีการพัฒนาพื้นที่ให้คุ้มค่ากับการใช้งาน
          2. การเดินทาง ที่มีการใช้รถยนต์กันมากขึ้น ซึ่งน่าจะมีการขยายรถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้า BTS หรือการใช้รถระบบราง หรือระบบขนส่งมวลชนที่พัฒนามากขึ้น
          3. สวนสาธารณะน่าจะมีเพิ่มขึ้น
          4. อาหารการกินของคนในกรุงเทพฯ ที่จะต้องสะอาด
          5. การตัดถนนที่เพิ่มขึ้นที่ยังไม่สมดุลกับปริมาณรถที่เพิ่มมากขึ้น
          6. ผังเมือง

นายมานิตย์ ศิริวรรณ
นายกสมาคมนักผังเมืองไทย
          การแก้ปัญหาผังเมืองนั้นต้องขอความร่วมมือกับทุกฝ่ายไม่ใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าผังเมืองเท่านั้น สำหรับว่าที่ผู้ว่ากรุงเทพมหานครนั้นจะต้องมีมุมมองในการแก้ปัญหาว่าจะแก้ปัญหาแบบแยกส่วนหรือวางแผนแก้ไขปัญหาภาพรวม ถ้าเมื่อไรแยกส่วนก็คงแก้ไม่ได้แต่ถ้ามองภาพรวมนั้น อาจจะกระทบกับผู้อื่นบ้างสำหรับผู้ที่มีผลประโยชน์ แต่มองภาพรวมจะได้รับผลที่ดีกว่าสำหรับคนทั้งหมด
          ฝากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในอนาคตว่า ผู้ว่ากรุงเทพฯในอนาคต ควรมีวิสัยทัศน์ในการแก้ไขปัญหาและ ทำให้ผังเมืองกรุงเทพนั้นสามารถใช้ได้จริงในภาคปฏิบัติ

คุณลดาวัลย์ ธนะธนิต
ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพฯ
          1. สิ่งที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ จะให้อะไรแก่ประชาชน ระบบการพิจารณาผังเมือง การขออนุญาตการก่อสร้าง
             สิ่งแวดล้อม ควรมีการพิจารณาอย่างดีก่อนอนุญาตก่อสร้าง
          2.ระบบเกี่ยวกับสาธารณูปโภคส่วนกลางที่ต้องเป็นประโยชน์ในการพิจารณา
          3. ป้ายโครงการ ป้ายโฆษณา ที่มีการซื้อ-ขายโครงการกันเรียบร้อยควรเก็บมากกว่าติดค้างไว้
          4. การนำพื้นที่ตาบอดมาทำโครงการได้ ทำที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อย

การแสดงวิสัยทัศน์ เรื่อง "การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" แนวความคิดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของว่าที่ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
ดำเนินรายการโดย ศาสตราจารย์พรเทพ ศรีนฤหล้า ประธานคณะกรรมการบริหาร บจก.ซินเกต
     คำถามที่ 1 เรามีแนวความคิดอย่างไรเกี่ยวกับผังเมือง
                        1. การใช้แบบ Mixed-use
                        2. การจัดเป็นโซนนิ่งให้ชัดเจน เขตที่อยู่อาศัย เขตอุตสาหกรรม
                        3. แบบ Cluster จะมีการแบ่งย่อย
     คำถามที่ 2 มหานครไหนที่เป็นมหานครในฝัน
     คำถามที่ 3 กรุงเทพมหานครจะมีอำนาจบทบาทแค่ไหนที่จะกล้าชนกับรัฐบาล
     คำถามที่ 4 กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวกับอาคารสร้างผิดแบบ

นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์
ผู้สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 8

     แบบ Cluster ซึ่งมีลักษณะคล้ายแนวหมากรุก ซึ่งจะแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่มีความหลากหลาย สำหรับกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งจะตรงกับนโยบายความสุขใกล้บ้าน เมืองใกล้ตัว โรงเรียนใกล้บ้าน อำนาจใกล้ชุมชน อนาคตใกล้เมือง ตย. ถนนรัชดาภิเษก การครองราชย์ครบ 25 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หัวแหวนอยู่ตรงถนนอโศก ใช้เวลาถึง 25 ปี และเป็นพื้นที่คอขวดอีก แถมยังสร้างตึกสูงอีก เรารู้ถึงผังเมือง ซึ่งเราเองไม่ได้ใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อให้เดินทางสะดวกมากขึ้น เป็นบริบทที่สำคัญที่สุดทำร่วมกันกับประชาชน ประเทศที่เจริญแล้ว เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ แคนเบอร์ร่า
      กรุงเทพมหานคร ปี 2550 จะเป็นเมืองมรดกโลก เช่น เมืองจีน ซึ่งถ้าเทียบกับของไทยแล้ว ไชน่าทาวน์ของไทยก็มีอาหารการกินที่ดี หรือเมือง Wall Street ถ้าเทียบก็เหมือนกับหาดบางขุนเทียนที่ห่างจาก กรุงเทพมหานคร 5 กม. เราสามารถทำเป็นย่าน ๆ ได้ และรวมเป็นเหมือนเมืองน่าอยู่ ซึ่งบำบัดน้ำให้สะอาด
     ผมมีประสบการณ์ด้านการเงินการธนาคาร เงินหาไม่ยาก เช่น ท่านนายกทักษิณทำระบบเครือข่ายมือถือ หรือระบบรถไฟฟ้า BTS รัฐไม่ได้ออกเงิน แต่ไม่รู้ใครเป็นคนฉ้อฉล เงินไม่ใช่เรื่องใหญ่แต่ขอให้ซื่อสัตย์สุจริตแล้วกัน

ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร ต้องปฏิรูปโดยภาคประชาชน
     
ชี้อสังหาริมทรัพย์ใน กรุงเทพมหานคร ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นประโยชน์ร่วมของคนกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอาคารและสถานที่ทิ้งร้างและแหล่งชุมชนดั้งเดิม ต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ แหล่งสันทนาการ แหล่งประกอบการเชิงพาณิชยกรรม เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตรวมทั้งสร้างเสริมรายได้ การประกอบอาชีพและการท่องเที่ยว ตามนโยบาย "เมืองใกล้ตัว" ในโอกาสเข้าร่วมงาน การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ณ ห้องรัตนโกสินทร์ โรงแรมนารายณ์
     เปิดเผยว่าบรรดาอสังหาริมทรัพย์ของกรุงเทพฯ มีจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งที่ได้มีการใช้ประโยชน์และพวกที่ถูกปล่อยทิ้งให้รกร้าง ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีบทบาทในการจัดการ ดูแลอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชน ด้วยการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง ตึก ห้องแถว อาคาร สถานที่ก่อสร้าง ที่ดินรกร้าง ที่ดินว่างเปล่า ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ ควรได้มีการปรับให้สาธารณชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน ในลักษณะของสวนสาธารณะสวนหย่อม สถานที่หรืออาคารจอดรถ
     อาคารเก่าแก่ อาคารดั้งเดิมซึ่งต้องรับการดูแล ปรับปรุง พัฒนา พร้อมทั้งฟื้นฟูเอกลักษณ์ของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภายใต้ ภารกิจ "อนุรักษ์ชุมชนดั้งเดิมพร้อมเติมคุณภาพชีวิต" โดยการดำเนินงานร่วมกับประชาชนในชุมชน นักวิชาการ นักวิชาชีพ อาทิ สถาปนิก วิศวกร นักผังเมืองและบรรดาข้าราชการกรุงเทพ รวมทั้งนักการเมืองท้องถิ่นอย่างสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) และสมาชิกสภาเขต (สข.) เพื่อให้เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วม คือ ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงเพื่อประโยชน์ของประชาชน (P3: People direct participation in public interest)
      การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่อง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สามารถกระทำได้นับตั้งแต่การขอความร่วมมือจากประชาชนจนกระทั่งถึงการใช้มาตรการบังคับใช้ทางภาษี แต่ทั้งหมดต้องเป็นไปในลักษณะที่เปิดโอกาสให้ประชาชน ประชาคมและชุมชนต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วม การดำเนินงานนโยบายต่าง ๆ ผู้ว่าฯ ต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ปลุกและปลูกจิตสำนึกของประชาชน เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจสู่มวลชนให้ได้มีโอกาสร่วมแสดงความคิดความเห็นในสิ่งอันพึงมีพึงได้ของคนในชุมชนนั้น ๆ มิให้ผลประโยชน์เขาพกเข้าห่อพวกใดพวกหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งอีกต่อไป

ดร.มานะ มหาสุวีระชัย
ผู้สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 5

     แบบ Cluster อนาคต กรุงเทพมหานครจะโตขึ้น เพราะนี้คือกระแสโลก ในอีก 30 ปี คนในชนบทจะอพยพมาอยู่เมืองใหญ่ถึง 80% และถูกคุมด้วยระบบทุนนิยม ถ้าไม่ล้มเหมือนระบบคอมมิวนิสต์ และน่าจะมีศูนย์กลางในหลาย ๆ ศูนย์ ผู้ว่าควรมีวิสัยทัศน์ในเรื่องนี้
     มหานครไหนที่เป็นมหานครในฝัน ซึ่งผมคิดว่า กรุงเทพฯ ของเราเองเป็นมหานครในฝัน เพราะเรามีทุกอย่างที่ประเทศอื่นมี และประเทศอื่นก็ไม่มีบางอย่างเหมือนที่เรามี เพียงแค่เราปรับปรุงเรื่องน้ำเสีย และสิ่งอื่น ๆ ก็ดีได้แล้ว
     ต้องรู้ว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ น่าจะเป็นคุณสมบัติของผู้ว่าฯ ถ้าผมเป็นผู้ว่าฯ ผมจะทำในกรอบของอำนาจของผู้ว่าฯ พึ่งมี และต้องการให้กรุงเทพมหานครมีระบบ 7 ระบบ ที่ครบวงจร คือ จราจร ขยะ น้ำเน่า ระบบการศึกษา อาหารสะอาด ชุมชนแออัด ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งผมจะเสนอต่อรัฐบาล
     ในตัวกฏหมายนั้นสมบูรณ์อยู่แล้ว แต่มีปัญหาตรงขั้นตอนการขออนุญาตและการใช้อาคาร การขออนุญาตจะมีปัญหาตรงที่ว่าคนออกกฎหมายกับคนตรวจคือคนละคนกัน ถ้าเราเลิกอ่านตัวกฎหมายแบบศรีธนนไชย ให้อ่านกฎหมายแบบช่าง ซึ่งจะให้ดู 11 ประการ
        1. การขออนุญาตก่อสร้างยื่นที่ไหน
        2. หน้าที่ของพนักงานท้องถิ่นคืออะไร
        3. เวลาอนุญาตมีเท่าไหร่
        4. ค่าธรรมเนียม
        5. เอกสารประกอบมีอะไรบ้าง
        6. จำแนกประเภทอาคารต่าง ๆ
        7. การออกแบบสถาปัตย์
        8. สุขาภิบาล
        9. เครื่องกล
        10. การป้องกันอัคคีภัย
        11.EIA

นายวรัญชัย โชคชนะ
ผู้สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 2

      แบบการจัดเป็นโซนนิ่งให้ชัดเจน แบ่งเขตให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย คอนโด บ้านจัดสรร และแหล่งเสื่อมโทรมได้รับการพัฒนา สถานที่ราชการมีโซนที่ชัดเจน ซึ่งปัจจุบันมี 2 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ที่อยู่ที่สนามบินน้ำ และกระทรวงสาธารณสุขอยู่ที่นนทบุรี และโซนของสถานเริงรมย์รวมสถานบันเทิง เพื่อสะดวกในการไปเที่ยว
      งบประมาณ กรุงเทพมหานคร มี ปีละ 30,000 ล้านเศษ ซึ่งทางรัฐบาลก็ต้องร่วมมือกับเอกชน เป็นนักประสานให้เอกชนกล้ามาลงทุน ต้องสร้างบรรยากาศการลงทุนให้เกิดขึ้น และไม่เพียงแค่พูดกันเท่านั้น แต่ต้องจับตาดูผู้สมัครที่ได้เป็นผู้ว่าในอนาคตด้วยว่า เมื่อได้เป็นแล้วจะมาขอโทษตอนหลังหรือไม่ ผู้ว่าต้องเป็นนักประสานที่ดี หาเงินได้ด้วย ผมจะชนกับรัฐบาลถ้าเขาทำแบบไม่ยุติธรรม
      ต่อไปนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะต้องเอา ผอ.เขต เป็นผู้ดูแลในแต่ละเขต ว่ามีผู้ใดบุกรุกบ้าง หวังว่าไม่อยากให้สลัมเกิดขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นต้องประสานงานกับการเคหะฯ และเรื่องตึกนั้นจะต้องตรงไปตรงมา กรุงเทพมหานครมีสำนักการโยธา เวลาต้องขอก่อสร้างจะต้องผ่านสนง.นี้ และการทุบตึก ปัจจุบันใช้ระเบิดแล้ว ไม่ใช่ใช้ค้อน เพราะทำให้เกิดอันตราย เช่น ห้างนิวเวิลด์ และไม่ล่าช้าด้วย เวลาจะขอแบบก็ไม่อยากให้มีใต้โต๊ะ เหมือนซื้อคอมฯ 900 ล้านบาท แต่ขอให้ความสะดวกสบาย ความยุติธรรม

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
ผู้สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 1

     จะรวมกันเป็น 2 ส่วน คือ แบบ Cluster และวางผังเมืองเฉพาะ โดยจะมุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง และมีการวางผังเมืองเฉพาะ ซึ่งจะดูถึงศักยภาพในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เกาะรัตนโกสินทร์ เรื่องของวัฒนธรรม ย่านกรุงเก่า ย่านฝั่งธนฯ หรือแถบบางขุนเทียน ซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ และพัฒนาศักยภาพในพื้นที่นั้น ๆ ต้องมีการพัฒนาพื้นที่ในวงกว้าง ไม่เพียงในวงแคบเท่านั้น แต่ต้องกระจายเป็นวงกว้างออกไป โดยสรุปแล้ว นำแบบ Cluster เป็นหลัก แต่ในบางพื้นที่ก็จะการผสมผสานกันในแบบอื่นด้วย
     ผมจะประสานงาน การดึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน กับกลุ่มวิชาชีพ นโยบาย การจัดตั้งการติดตามผลเพื่อให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหากรุงเทพมหานคร ซึ่งจะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มที่ 1 กลุ่มอสังหาริมทรัพย์/สถาบันการศึกษา หน่วยงานทางภาคเอกชน กลุ่มที่ 2 กลุ่มภาคประชาชน กลุ่มที่ 3 องค์กรพัฒนาหรือ NPO ที่จะใกล้ชิดกับประชาชน เด็ก และเอาปัญหาของประชาชนเป็นหลัก และประสานงานในกลุ่มต่าง ๆ ในการบริหาร กรุงเทพมหานคร
     ผมจะทำการสำรวจ เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักที่ไม่มีการก่อสร้างต่อ เช่น ห้างนิวเวิลด์ เราจะมีกรอบที่ชัดเจนในการรื้อถอน และการออกใบอนุญาตการก่อเติมผิดแบบ ต้องเริ่มต้นในการออกกฏหมายนิรโทษกรรม และดึงการมีส่วนร่วมของนักวิศวกร สถาปนิกไทย ต้องมีมาตราการที่เข้มงวด ต้องมีความโปร่งใส ตรงไปตรงมา ทุกอย่างจะเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ

ดร.การุญ จันทรางศุ
ผู้สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 11

     ถ้ามองในมุมกฎหมาย กฎหมายผังเมืองจะออกมาในมุมควบคุมกึ่งบังคับ ถ้ากำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะรักษาความเป็นราชธานี ก็ควรนำทั้ง 3 แบบนี้มาใช้ ถ้าเป็นพื้นที่ชั้นในก็ควรใช้แบบ Mixed-use และตั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เอื้อต่อการจัดแบบ Mixed-use และถ้าเป็นชั้นกลาง ก็น่าจะใช้แบบโซนนิ่งเข้ามาใช้ เป็นการกำหนดกิจกรรมหลักและรอง เพื่อชะลอการขยายตัวของกิจกรรมรองมากกว่าหลัก เช่น บริเวณที่อยู่อาศัยก็ให้เป็นที่อยู่อาศัยจริง ๆ ไม่ใช่เอาศูนย์การค้าขึ้นมาแทรกอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัย หรือถ้าเป็นชั้นนอก ก็มีการกระจายแบบ Cluster ในอยู่ในบริเวณรอบนอก มีข้อกำหนดผังเมืองให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มีการกระจุกตัวของเขตชั้นในเท่านั้น
     จะต้องมีการประสานงานกัน เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ เมื่อได้รับการเลือกเป็นผู้ว่าฯ ก็จะนำเรื่องประสานกับรัฐ ซึ่งเงินส่วนใหญ่ก็มาจากประชาชนและภาคเอกชน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการที่ต้องประสานงานกัน
     แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ พรบ.ควบคุมอาคาร 2 ส่วน การขออนุญาต และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในบังคับในกฎหมายทำตามไม่มีการละเมิด กรุงเทพมหานครให้น้ำหนักขอกระบวนการการขออนุญาต เป็นหน้าที่ของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติตามกฎหมายอื่น การดูการละเมิดของกฎหมาย กฎหมายออกมาไม่เอื้อต่อการสร้างอาคาร ควรมีการปรับปรุงกฎหมายเสียใหม่เพราะกฎหมายไม่เอื้ออำนวย บทลงโทษนั้น เป็นคดีอาญา ดังนั้นควรมีการปรับปรุงกฎหมาย และถึงกับมีบทนิรโทษกรรมทำให้รูปแบบเดียวกัน และจะต้องมีเจ้าหน้าที่ไปกำกับดูแล

นโยบายการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์
        1. ส่งเสริมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชน ทั้งรถไฟฟ้า BTS และรถไฟใต้ดิน
        2. ยกเลิกข้อกำหนดที่จอดรถในอาคารตาม พรบ.ควบคุมอาคาร สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าหรือรถใต้ดินให้บริการแล้ว
        3. ปลดเปลื้องความเดือดร้อนของประชาชนที่ต่อเติมบ้านเรือน โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากทางราชการ แต่ไม่ได้ทำความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
            และยังมีความมั่นคงแข็งแรงให้ได้รับการทำนิรโทษกรรมทั้งหมด
        4. ปรับปรุงกฎหมายด้านผังเมืองและอาคารให้มีลักษณะการส่งเสริมมากกว่าการควบคุม
        5. พัฒนาทัศนียภาพและความปลอดภัย จัดให้สายไฟฟ้าลงใต้ดิน
        6.เพิ่มปริมาณ "ปอดใหม่ให้ชาวเมือง) พัฒนาสวนหย่อม สวนสาธารณะกระจายตามพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองหลักต่าง ๆ
          "สร้างนวัตกรรม-สะพานคนเดิน"ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มพื้นที่ใช้ชาวกรุงเทพมหานคร มีที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายมากขึ้นปราศจาก
           มลภาวะใด ๆ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม
        7.ปราบคอรัปชั่นทั้งผู้ให้และผู้รับยุติการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องสร้างความยุติกรรมในระบบการบริหารจัดการเปิดมิติใหม่ของการบริการ
            ประชาชน ทั่วถึงและทัดเทียมกันทุกสถานภาพ

นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์
ผู้สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 15

     การใช้แบบ Mixed-use ถ้ามีการแบ่งเป็นเขต ๆ ซึ่งถ้าเรามาดู ตัวอย่างเช่น เขตหนองจอก มีแต่บ้านเดี่ยว เพราะเป็นเขตพื้นที่สีเขียว สร้างได้แต่บ้านเดี่ยว และจะมีราคาแพง เราต้องนึกถึงอนาคตว่า เราเองจะสร้างสีลม 2 ไว้ที่ไหนได้บ้าง ซึ่งมีแต่ตึกแถวขึ้นเต็มไปหมด หรือสุขุมวิท 2 ซึ่งปลูกสร้างแต่คอนโด ฉะนั้นจึงควรใช้วิธีแบบ Mixed-use จะดีที่สุด
     ถามว่าถ้าคุณชูวิทย์ได้เป็นผู้ว่าจะกล้าชนกับรัฐบาลหรือไม่ เป็นภาพเปรียบเทียบว่า รัฐบาลคือสามี กรุงเทพมหานครเป็นภรรยาที่ต้องอยู่คู่กัน จะขอร้องกัน เราต้องประสานงาน กรุงเทพมหานครไม่ชนเวทีของไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ กรุงเทพมหานครไม่ใช่เวทีทางการเมือง ซึ่งเราจะต้องประสานงานกันให้ดี คุยกันให้ดี ไม่ใช่ชนกัน กรุงเทพมหานครต้องการการแก้ไข ไม่ใช่เพิ่มปัญหา
     น่าจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ที่ประกอบด้วย โยธา เศรษฐกิจ วิศวกร สถาปนิก คอยตรวจตรา ดูแลชีวิตและทรัพย์สินให้ปลอดภัย มีการทำนิรโทษกรรม และมีการปรับภาษีโรงเรือนรอคำสั่งศาลในส่วนที่ผิด ปรับเปลี่ยน พรบ.ควบคุมอาคาร ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บางทีจะต้องมีการปรับกระจายเพื่อให้การโยธาไปตรวจอาคารบาง ไม่เพียงแค่ตรวจแค่งานเอกสาร