อ่าน 420 คน
เจาะลึกอสังหาริมทรัพย์ทุก SECTOR
วสันต์ คงจันทร์
บรรณาธิการ วารสาร ThaiAppraisal (editor@thaiappraisal.org )
On June 24, 2004, Thai Appraisal Foundation and the Thai Real Estate Business School organized a seminar on Assessing Each Sector's of Thailand's Real Estate Market. Over 10 speakers who were experts and industrialists in each market came to present their ideas and insights. The following is a summary of all the presentations.
•
Housing. Still growing extensively particularly luxury housing units in the form of detached houses and condominiums, the later of which are subject to speculation today.
•
Office space . Still a large amount of oversupply. However, vacancy rates have decreased due to gradual absorbtion. The rent has also increased but very slightly (2.5%). Apart from first-class offices in the CBD, the market for office space is still quite weak.
•
Retail space. Of the 4 million sq.metres existing, half are shopping malls, 30% are department stores and the remaining 20% are superstores. The vacancy rate is as low as 5%
•
Hotel. There are altogether 6,651 hotels with 350,000 rooms in Thailand of which 70,000 rooms are in Bangkok alone. The average occupation rate is 55%.
•
Serviced Apartments . There has been increased investment in this market because of their higher returns and lower vacancy rates. However, the market is expected to faded due to more competition and tightened regulations on hotel-like operations.
•
Resort. Rental resorts in major beach-side tourist destinations are still in good shape. However, innovations must be implemented.
•
Golf courses . On the average, golf membership fees have been decreasing for almost 10 years. New golf courses are unlikely to be planned due to huge oversupply. Night golf courses in Bangkok can be a market niche.
•
Industrial estates. The 77 existing estates comprise 11,000 ha or 27,340 acres. Around 35% of the serviced land is still unsold / unoccupied. The situation has still not yet recovered.
1. ตลาดที่อยู่อาศัย
จากการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่าในปี พ.ศ.2537-2547 มีจำนวนมากถึง 6,000 แห่ง และจากการจัดทำโครงการวิจัยต่อเนื่อง Real Estate Index (REI) จะพบว่าในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจตั้งในปี 2541 เป็นต้นมา จำนวนโครงการที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นใหม่มีจำนวนน้อยมาก และในปี 2543 จึงเริ่มมีการทยอยเปิดตัวกันอีกครั้งหนึ่งแต่ยังมีค่อนข้างน้อยอยู่ จนถึง ณ สิ้นปี 2546 พบว่ามีโครงการที่เปิดตัวใหม่ในปี 2546 มีมากถึง 420 โครงการ จำนวน 52,305 หน่วย มูลค่าโครงการ 139,496 ล้านบาท และมีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 2.667 ล้านบาท และบริเวณที่มีการเปิดตัวกันมากที่สุดคือ รังสิต คลอง 1-7 โดยมีจำนวนหน่วยมากถึง 6,689 หน่วย หรือร้อยละ 48 ของหน่วยขายที่เปิดขายทั้งหมด รองลงมาคือ ลำลูกกา และประชาอุทิศ ตามลำดับ
ณ สิ้นปี 2546 มีจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยที่ยังเปิดขายอยู่รวมทั้งหมดจำนวน 931 โครงการ สำหรับภาวะการเปลี่ยนแปลงของราคาขายในโครงการจัดสรร จะมีราคาเพิ่มขึ้น 43.6% ลดลง 25.6% และราคาคงที่อีก 30.8% พิจารณาสัดส่วนการพัฒนาของบริษัทในและนอกตลาดหลักทรัพย์ พบว่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่าการพัฒนาเพียง 34% และบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่าการพัฒนา 66% และสัดส่วนของจำนวนหน่วยขายของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์มีเพียง 18% ส่วนนอกตลาดหลักทรัพย์มีมากถึง 82% ซึ่งแสดงว่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้เป็นผู้ครองตลาด แต่เน้นการผลิตสินค้าราคาแพง คือเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 4.991 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ผลิตสินค้าที่ราคาเฉลี่ยต่อหน่วยเพียง 2.151 ล้านบาท
พิจารณาโครงการที่อยู่อาศัยที่เปิดใหม่มกราคม-เมษายน 2547 พบว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี มีการเปิดตัวโครงการใหม่แล้วจำนวน 104 โครงการ โดย 102 โครงการ อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และส่วนใหญ่ 100 โครงการ จะเป็นโครงการที่อยู่อาศัย มีจำนวนหน่วยขายทั้งหมด 14,373 หน่วย ประเภทที่มีมากที่สุดคืออาคารชุด ซึ่งมีมากถึง 5,375 หน่วย (37%) รองลงมาคือ บ้านเดี่ยว 4,122 หน่วย (29%) และระดับราคาขายส่วนใหญ่จะมีระดับราคามากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป (ราคาเฉลี่ยต่อหน่วย 3.457 ล้านบาท) นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณที่มีการเปิดตัวกันมากที่สุดคือ บริเวณสุขุมวิท-พระราม 4 รองลงมา คือ ปทุมวัน และยานนาวา-สีลม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคารชุดระดับราคาเกิน 5 ล้านขึ้นไป
โดยสรุป ภาพรวมของตลาดที่อยู่อาศัย ในส่วนของ Demand ยังมีความต้องการซื้ออยู่ โดยพิจารณาจากภาวะการขายที่ขายดี และมีการย้ายเข้าอยู่ ในส่วนของ Supply จะพบว่าช่วงของการพัฒนาโครงการจะสั้นลง, ขนาดโครงการลดลงเหลือเพียง 70-80 หน่วยซึ่งจากเดิมโครงการละหลายร้อยหน่วย, รูปแบบการผลิตเน้นราคาแพงขึ้น สินค้าราคาถูกจะไม่ค่อยมีคนผลิต เนื่องจากยังมีโครงการที่เป็นบ้านมือสองเหลืออยู่ จึงผลิตของแพงดีกว่า เช่น บ้านเดี่ยว อาคารชุด จึงมีโอกาสขายได้เพราะยังมีความต้องการซื้อ
2. อาคารสำนักงานให้เช่า-ขาย
จากการสำรวจอาคารสำนักงานจนถึงเดือนมิถุนายนปี 2547 ปัจจุบันมีพื้นที่อาคารสำนักงานในเขตกรุงเทพฯรวมกันมากถึง 7 ล้านตารางเมตร แบ่งเป็นเขตในกลางเมือง (CBD) มีถึงประมาณ 3 ล้านตารางเมตร ที่เหลือเป็นเขตนอกในกลางเมือง และเมื่อแบ่งเป็นประเภทของการดำเนินธุรกิจเป็นการสร้างเพื่อให้เช่า 5 ล้านตารางเมตร และสร้างเพื่อขาย 2 ล้านตารางเมตร ซึ่งปัจจุยันราคาขายสูงสุดอยู่ที่ 55,000 บาทต่อตารางเมตร โดยมีพื้นที่อาคารสำนักงานว่างทั้งกรุงเทพฯรอบนอกและรอบในรวมกันเป็น 1.4 ล้านตารางเมตร หากพิจารณาเฉพาะในเขตใจกลางเมืองนั้น ปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 3,440,000 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่กำลังก่อสร้างจำนวน 300,000 ตารางเมตร, ทิ้งร้าง 194,000 ตารางเมตร และที่ใช้งานอยู่จริง 2,946,000 ตารางเมตร และบริเวณที่มีพื้นที่อาคารสำนักงานอยู่มากที่สุด คือสีลม ซึ่งมีมากถึง 1,350,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 39% ของพื้นที่สำนักงานทั้งหมด
หากพิจารณาอัตราว่าง จะพบว่าในเขต CBD มีอัตราว่างอยู่ถึง 14% หรือประมาณ 400,000 ตารางเมตร และถ้ารวมพื้นที่รอบนอกด้วยจะมี 1.2-1.4 ล้านตารางเมตร ส่วนบริเวณที่มีอัตราว่างสูงสุด คือย่านพระราม 9-รัชดา ซึ่งมีอัตราว่างสูงถึง 20% หากพิจารณาจำนวนปีที่พื้นที่สำนักงานจะถูกใช้สอยจนครบ 100% พบว่าโดยรวมต้องใช้เวลาถึง 4.5 ปี พื้นที่ว่างจึงจะถูกใช้ไปหมด ตามธรรมชาติของดีมานด์ตลาดอาคารสำนักงานจะไม่นิยมซื้ออาคารประเภทนี้ เนื่องจากต้องเสียค่าลงทุนสูง จะนิยมเข่ามากกว่า ทั้งนี้ เพื่อความคลอ่งตัวในการโยกย้าย ทำให้ในปัจจุบันสัดส่วนตลาดอาคารสำนักงานเพื่อขายนั้นมีจำนวนลดน้อยลงไปเรื่อยๆ อีกทั้งตลาดอาคารสำนักงานยังเป็นตลาดที่เติบโตล่าช้ากว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ รูปแบบอื่นๆ โดยในช่วงปี 2542 แทบจะไม่มีการสร้างอาคารใหม่เลย แต่เพิ่งจะมาเริ่มก่อสร้างบ้างในช่วงนี้ประมาณ 3-4 อาคาร
ล่าสุดที่จะเปิดในเดือนตุลาคมนี้คือ อาคารเซ็นทรัลเวิลด์ ทาวเวอร์ บนเนื้อที่ 80,000 ตารางเมตร ในอัตรค่าเช่า 450-550 บาทต่อตารางเมตร และบริเวณที่มีโอกาสที่น่าจะเริ่มสร้างใหม่ได้ คือบริเวณย่านเพลินจิต เนื่องจากใช้เวลาเพียง 2.8 ปีก็จะถูกใช้หมด และการก่อสร้างอาคารสำนักงานต้องใช้เวลาก่อสร้างถึง 3 ปี ดังนั้นย่านเพลินจิต จึงน่าจะเริ่มสร้างได้แล้ว บริเวณที่มีอัตราค่าเช่าถูกที่สุด คือย่านเพลินจิต รองลงมา คือสีลม และพระราม 9-รัชดา ส่วนบริเวณที่ค่าเช่าถูกที่สุด คือย่านพระราม 4-คลองเตย โดยภาพรวมแล้วราคาค่าเช่าจะเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณ 2.5% เท่านั้น
3. ศูนย์การค้า
ภาพรวมของธุรกิจศูนย์การค้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในปัจจุบัน พบว่ามีพื้นที่ศูนย์การค้ารวมทั้งหมด 4.0 ล้าน ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างประมาณ 5% โดยแบ่งเป็นพื้นที่ในส่วนของ
ประเภท
ทั้งหมด (ตรม.)
พื้นที่ใช้งาน
พื้นที่ว่าง
ว่าง (%)
Shopping Mall
1,916,696
1,777,672
139,024
7.3%
Department Store
1,264,887
1,214,075
50,812
4.0%
Super Store
795,149
778,149
17,000
2.1%
Total Retail Market
3,976,732
3,769,896
206,836
5.2%
โดยในขณะนี้ผู้นำในธุรกิจศูนย์การค้าของประเทศไทยมีอยู่เพียง 2 รายคือ เซ็นทรัลและ เดอะมอลล์ ซึ่งสัดส่วนของศูนย์การค้าที่เป็นบริษัทคนไทยและคนต่างชาติอยู่ในสัดส่วน 80% และ 20% ตามลำดับดยในขณะนี้ผู้นำในธุรกิจศูนย์การค้าของประเทศไทยมีอยู่เพียง 2 รายคือ เซ็นทรัลและ เดอะมอลล์ ซึ่งสัดส่วนของศูนย์การค้าที่เป็นบริษัทคนไทยและคนต่างชาติอยู่ในสัดส่วน 80% และ 20% ตามลำดับ
4. ธุรกิจโรงแรม
ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจที่สำคัญ นำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับ 2 รองจากธุรกิจการส่งออก และจากการที่ภาครัฐมีนโยบายว่าในปีนี้จะผลักดันให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยให้ได้ 12 ล้านคน หรือประมาณ 20% ส่งผลให้นักลงทุนแห่กันผุดโรงแรมใหม่ๆ ขึ้นมามากมายทั่วประเทศประมาณ 100 แห่ง โดยเฉพาะในประเด็นที่ภาครัฐได้มีการประกาศให้ จ.เชียงใหม่เป็นจังหวัดหลักของภาคเหนือในอนาคต ทำให้มีผู้ประกอบการแห่ใปลงทุนในจังหวัดดังกล่าวและใกล้เคียงรวมประมาณ 2,000 แห่ง
ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจไม่น้อย แต่เมื่อดูจากสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น สถานการณ์ที่ประเทศอิรัก โรคซาร์ส และไข้หวัดนก เห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในประเทศไทยดังที่ภาครัฐตั้งเป้าไว้นั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยากมากขึ้น ในช่วงระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา มีอัตรานักท่องเที่ยวเข้าพักตามโรงแรมต่างๆคิดเป็นตัวเลขเฉลี่ย 71.9% เมื่อเทียบกับช่วง 5 เดือนแรกของปี 2546 อยู่ที่ 58.58% และปี2545 อยู่ที่ 70.4% ซึ่งตัวเลขในปีนี้ต้องเทียบกับปี 2545 เพราะในปี 2546 นั้นเกิดภาวะการณ์หลายอย่างที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดลง และในปีนี้มีรายงานล่าสุดมาว่าโรงแรมในภาคเหนือมีอัตรการเข้าพักประมาณ 33% ภาคใต้ 35-40% พัทยาแบ่งเป็นช่วงต้นเดือน 30% กลางเดือน 50% และปลายเดือนไม่เกิน 55% ซึ่งยังถือว่าน้อยอยู่และยังมีห้องว่างเหลืออีกเป็นจำนวนมากหรือประมาณ 30% ปัจจุบันจำนวนโรงแรมทั่วประเทศมีประมาณ 6,651 แห่ง มีจำนวนห้องพักประมาณ 350,000 กว่าห้อง แบ่งเป็นในเขตกรุงเทพฯประมาณ 70,000 กว่าห้อง โดยสุมวิทถือว่าเป็นย่านที่มีโรงแรมมากที่สุดซึ่งยังไม่รวมที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง โดยไม่ทราบเหตุการณ์ภายในอีก 3-4 ปีข้างหน้าว่าจะมีจำนวนห้องพักในโรงแรมเกิดขึ้นอีกมากน้อยเพียงใด สาเหตุที่ทำให้ห้องพักในโรงแรมมีอัตราว่างเป็นจำนวนมากและเป็นสิ่งที่น่าวิตกนั้นมาจากการที่มีผู้ประกอบการหันมาพัฒนาธุรกิจเซอร์สวิสอพาร์ตเมนต์กันเป็นจำนวนมากและดึงนักท่องเที่ยวไปพัก ซึ่งมีทั้งรูปแบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ส่งผลให้บรรดาผู้ประกอบการดรงแรมต่างพยายามผลักดัน พ.ร.บ. โรงแรมออกมาใช้ ซึ่งจะเข้าสภาวาระสุดท้ายในเดือนสิงหาคม และคาดว่าจะประกาศใช้ได้ในปลายปี 2547 นี้ หลังจากนั้นหากผู้ประกอบการธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ยังฝ่าฝืนอยู่ก็จะมีโทษทั้งจำและปรับ อีกทั้งธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์จะต้องเปิดให้ลูกค้าเข้าพักเป็นรายเดือนหรือรายปีเท่านั้น หรือถ้าอยากมีรายได้จากการให้เช่ารายวันก็ต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นธุรกิจโรงแรม ดังนั้นหากผู้ประกอบการรายใดที่คิดจะลงทุนในธุรกิจโรงแรมควรจะมีการศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน เพราะหากเกิดการผิดพลาดขึ้นมาจะยากต่อการแก้ไข
5. เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์
การที่ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ตเม้นท์เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบันนั้น เนื่องจากมีชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และบางส่วนที่เกษียณจากงานแล้วต้องการใช้ชีวิตในบั้นปลายในประเทศที่ตนเองชื่นชอบก็จะมาพักเป็นระยะเวลายาวนาน และต้องการที่พักอาศัยที่มีบรรยากาศของบ้านที่ครอบครัวเล็กๆสามารถอยู่ได้ รามไปถึงนำอาหารมาปรุงเพื่อรับประทานได้ด้วย ดังนั้น เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับกลุ่มดังกล่าว และได้มีการทำสัญญาเช่าเป็นรายปี โดยทำเลย่านสุขุมวิทครองแชมป์ในธุรกิจนี้ เพราะชาวต่างชาติถือว่าเป็นดอลล่าร์โซน แต่ปัจจุบันหากใครต้องการมาลงทุนในธุรกิจนี้ก็ถือว่าเสี่ยง เนื่องจากมีนักลงทุนรายใหม่เกิดขึ้นมาก แต่ถ้าเปรียบเทียบกับโซนอื่นการลงทุนในย่านสุขุมวิทถือว่ามีความได้เปรียบกว่า โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นชาวยุโรป, อเมริกา, อินเดีย, ญี่ปุ่น เป็นต้น แต่ขณะนี้มีนักลงทุนรายใหม่เกิดขึ้นมากดังนั้น จึงต้องมีการขยายโซนออกมาจากสุขุมวิท ซึ่งโซนที่ชาวต่างประเทศนิยมพักเป็นอันดับสองรองจากสุขุมวิทคือเขตใจกลางเมืองและสาทร อันดับ 3 เป็นย่านริเวอร์ไซด์ ซึ่งไม่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า ชาวต่างประเทศจะน้อยกว่า 2 โซนแรก เพราะโดยอุปนิสัยชาวต่างประเทศจะชอบที่พักอาศัยที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเดินทางได้โดยสะดวก อันดับ 4 คือทำเลย่านบางนา, ศรีนครินทร์ และอันดับ 5 คือทำเลกทม.ตอนเหนือแต่ต้องอยู่ใกล้โรงเรียนนานาชาติด้วยจังจะมีศักยภาพในการทำธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ซึ่ง ปัจจุบันนี้มีอัตราการเข้าพักในเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์โดยรวมอยู่ประมาณ 80% ส่วนกลุ่มลูกค้าอีกตลาดหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์คือ ธุรกิจกองถ่ายภาพยนต์จากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศอินเดีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีการสร้างภาพยนตร์มากที่สุด กลุ่มนี้จะสนใจเข้าพักในเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะย่านสุขุมวิท อย่างไรก็ตามจากการที่สมาคมโรงแรมไทยกล่าวหาว่ากลุ่มธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์แย่งลูกค้าของกลุ่มธุรกิจโรงแรมนั้น ขอแย้งว่าปัจจุยันได้มีโรงแรมบางแห่งหันมาให้บริการในรูปแบบเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โดยทำสัญญาเช่าเป็นรายเดือนประมาณ 3-4 เดือน เช่น อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค, แซงกรี-ลา เป็นต้น โดยภาพรวมแล้วโครงการเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่กำลังก่อสร้างในปัจจุบัน ตลาดยังเป็นของเจ้าของอาคารแต่ระยะเวลาอีก 2 ปีนับจากนี้เชื่อว่าตลาดจะเป็นของเอเย่นต์และผู้เช่า โดยจะมีการต่อรองในเรื่องค่าเช่าและสัญญามากขึ้น
6. รีสอร์ท
ธุรกิจรีสอร์ทในปัจจุบันว่าโอกาสในการทำธุรกิจนี้ยังดีอยู่ แต่ผู้ประกอบการต้องนำเสนอแนวความคิดที่แปลกใหม่ มีคอนเซ็ปต์ที่แตกต่าง และพัฒนาโครงการที่ไม่ใหญ่มากนัก มีการดีไซน์ที่โดดเด่น ส่วนใหญ่เป็นในรูปแบบมินิหรือบูติกโฮเด็ล เจาะกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนหากไปลอกเลียนแบบผู้ประกอบการรายอื่น การทำตลาดก็จะแย่ ซึ่งการทำธุรกิจ รีสอร์ทส่วนใหญ่จะพัฒนาในจังหวัดท่องเที่ยวใหญ่ๆและติดทะเล เพราะชาวต่างประเทศจะชอบ ส่วนรีสอร์ตแถบภูเขาจะเป็นอันดับรองลงมา แต่ก็มีข้อควรระวังในการพัฒนาคือในเรื่องการถือครองกรรมสิทธิ์ว่าเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่ ซึ่งก็ยังมีความเสี่ยง
7. สนามกอล์ฟ
ธุรกิจสนามกอล์ฟในปัจจุบันว่า มีประมาณ 100 สนาม มีทั้งสนามปิด สนามกึ่งเปิด และสนามเปิดส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะลงทุนในจังหวัดท่องเที่ยว ซึ่งแบ่งเป็นภาคเหนือประมาณ 8 แห่ง ภาคตะวันออก 33 แห่ง ภาคตะวันตก 22 แห่ง ภาคใต้ 6 แห่ง และกทม.28 แห่ง ซึ่งแนวโน้มธุรกิจสนามกอล์ฟจะมีอัตราการเติบโต เพราะภาครัฐให้การสบับสนุนในเรื่องการท่องเที่ยว แต่ถ้าหากนักลงทุนใหม่ต้องการจะพัฒนาสนามกอล์ฟในช่วงนี้คงต้องใช้เงินลงทุนสูงอย่างน้อย 200-500 ล้านบาท (ไม่รวมคลับเฮาส์และที่พักอาศัย) ซึ่งเท่าที่ทราบในขณะนี้มีเพียงรายเดียวที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาคือสนามกอล์ฟของกลุ่มอมตะนครที่มีนักลงทุนกลุ่มเคปเปลจากสิงคโปร์มาร่วมทุนด้วย ส่วนตลาดสนามกอล์ฟต่างจังหวัดที่น่าสนใจและมีแนวโน้มดีที่สุดจะเป็นโซนตั้งแต่นครปฐม ชะอำและประจวบคีรีขันธ์เพราะการคมนาคมไม่ไหลจาก กทม.และมีความปลอดภัยมากกว่าสนามกอล์ฟภาคใต้ อีกทั้งโซนดังกล่าวยังมีอัตราการขยายตัวอีกมาก เพราะจะมีการนำสปาและบูติกโฮเต็ลเข้ามาทำตลาดในโซนดังกล่าวกันมากขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้สิ่งที่น่าจะลงทุนเพิ่มในธุรกิจนี้ คือการทำ Night Golf และการทำ Driving Golf สนามผู้ต้องการออกกำลังกาย และตั้งอยู่ใกล้ใจกลางเมือง ซึ่งได้รับความนิยมค่อนข้างสูง
8. นิคมอุตสาหกรรม
ปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวนนิคมอุตสาหกรรมอยู่ 77 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม 33 แห่ง และเขตสวนอุตสาหกรรม 43 แห่ง มีพื้นที่รวมทั้งหมด 69,151 ไร่ เหลือขายอยู่จำนวน 24,358 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมจำนวน 12,389 ไร่ และในเขต/สวนอุตสาหกรรมอีกจำนวน 11,969 ไร่
ปัญหาและอุปสรรคสำหรับการลงทุน คือ 1. ขั้นตอนการขออนุญาตนานมาก ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA 2. ยังไม่ได้รับการส่งเสริมหรือประสานงานจากภาครัฐเท่าที่ควร 3. ยังมี Over Supply อยู่ 4. ราคาที่ดิน ค่าก่อสร้างมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้แข่งขันสูงขึ้น ขนาดแปลงที่ดินที่จัดสรรก็เล็กลง โดยภาพรวมสถานการณ์ภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันนั้น ความต้องการที่ดินในเขตอุตสาหกรรมยังมีความต้องการอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะหน่วยงานของรัฐส่งเสริมให้ลงทุน มีโครงการนิคมอุตสาหกรรมเอื้ออาทรเพื่อ SMEs และส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น โดย BOI ให้การส่งเสริมธุรกิจ โดยเฉพาะเขตที่มีการยกเว้นภาษี นักลงทุนก็จะไปลงทุนในนิคม/สวน/เขตอุตสาหกรรม ดังนั้นแนวโน้มสัดส่วนการลงทุนก็จะเพิ่มขึ้น ขนาดพื้นที่เล็กลง และมีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ต่างชาติก็จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น