Eng
หน้าแรก เกี่ยวกับมูลนิธิ หลักการประเมินค่าทรัพย์สิน มาตรฐานจรรยาบรรณ
อัตราผลตอบแทน
มาตรฐานราคาค่าก่อสร้าง บทความความรู้ข้อแนะนำ เว็บบอร์ด ติดต่อมูลนิธิ
อ่าน 640 คน

คือเป็นการให้เพื่อปกปิดความผิด
          การให้ความสำคัญต่อเรื่องซีเอสอาร์ของภาคธุรกิจ ที่ปัจจุบันได้ขยาย วงกว้างมากขึ้นตามลำดับนั้น มีทั้งการดำเนินกิจกรรมในแนวราบและแนวดิ่งมากน้อยแตกต่างกันไป แต่หากจะเทียบกับการสนับสนุนเพื่อการนี้นั้น ต้องถือว่ายังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก จะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม แต่สำหรับ มุมมองของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ในฐานะกรรมการหอการค้าไทย ด้านจรรยาบรรณและเศรษฐกิจพอเพียง ก็ได้ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างสนใจ
           CSR แบบเลยเถิด บางคน “คลั่ง” CSR ถึงขนาดคิดว่า CSR นี่แหละจะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ CSR เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสาหกิจ วิสาหกิจไม่ได้มีหน้าที่แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่อาจหนุนช่วยได้บ้าง ตัว อย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ การปลูกป่าจะเห็นได้ว่า การปลูกป่านั้นปีหนึ่งทำได้ประมาณ 10,000 ไร่ ปลูกแล้วตายไปเท่าไหร่ก็ยังไม่มีใครรู้ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ปีหนึ่งป่าไม้ถูกทำลายไปหลายแสนไร่ เทียบ กันไม่ได้เลย อย่างนี้ CSR อะไรจะไปช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
           แล้วทำไมเรายังเน้นการให้ก็เพราะการให้ ทำแล้วดูดี ทำแล้วได้หน้า ทำแล้วปลอดภัย ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับโจรเศรษฐกิจ หรืออาชญากรทั้งหลาย ใครๆ ก็เอ็นดูนั่นเอง แต่การให้นั้นบางทีก็มีโทษ คือเป็นการให้เพื่อปกปิดความผิด ปกปิดความชั่ว ไม่ให้รู้ว่าภายใต้ เสื้อคลุมใจบุญสวยงามนั้น มีอะไรไม่ดี ไม่งามซ่อนอยู่
           ตัวอย่างเดิมเรื่องปลูกป่าก็เหมือนกัน ยิ่งเราส่งเสริมให้คนปลูกป่าอย่างมืดบอด เราก็ทำให้คนไม่รู้ความจริงว่า ปัญหาของ ป่าคือมีคนทำลาย ทั้งชาวบ้านและนายทุน เราต้องส่งเสริมให้มีการปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ไม่ใช่ไป “ปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ” เอาแต่ส่งเสริมให้คนไปปลูกป่า ทำตัวคิขุ น่ารักไปวันๆ
           ทำ CSR แล้วสร้างชื่อยี่ห้อสินค้าที่ดีนั้น แสดงว่าน่าเชื่อถือ มีความรับผิดชอบ บริษัทรถยนต์ ผลิตสินค้าไม่ดีก็เรียกคืน อย่างนี้เป็นต้น ไม่ได้อยู่ที่การทำตัวเป็น “คุณหญิงคุณนาย” ยุคใหม่ที่สักแต่ไปแจก ไปช่วยเหลือสังคม
           อย่างบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทใหญ่โตอาจน่าเชื่อถือกว่าบริษัท เล็กๆ ที่เกิดใหม่ แต่ก็ยังขาดหลักประกันอยู่ดี ถ้ามีหลักประกันที่ดีต่อลูกค้า มีการใช้ระบบคุ้มครองเงินดาวน์ มีการใช้สัญญา ที่ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค อย่างนี้ต่างหากที่แสดงถึงการมี CSR ไม่ใช่การบริจาคเพื่อการสร้างภาพใด ๆ

CSR ไม่ใช่เรื่องเฉพาะของบริษัทใหญ่
           บริษัทใหญ่ๆ จากต่างประเทศอาจดูดีมี CSR กว่าบริษัทเล็กๆ แต่ก็ใช่จะแน่เสมอไป โดยพื้นฐานแล้ว บริษัทใหญ่ๆ ที่มาลงทุนในประเทศไทยหรือประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็คาดหวังจะใช้แรงงาน ราคาถูก เราจึงต้องรู้ให้เท่าทันบริษัทขนาด ใหญ่จากต่างประเทศ
           ถ้าเราจะแข่งกับบริษัทข้ามชาติ เรา บริษัทคนไทยจะได้ท่องคาถา “รักเมืองไทย ใช้บางจาก” อย่างเดียวไม่ได้ สินค้าไทยต้องมีคุณภาพทัดเทียมของนอก และสามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่า เราจึงจะมีสิทธิมาเรียกร้องให้คนไทยใช้ของไทย
           ในความเป็นจริง CSR เกี่ยวพันกับกิจการขนาดเล็กๆ หรือ SME เป็นอย่างยิ่ง แม้แต่การเป็นแม่ค้าขายขนมจีนก็ต้อง มี CSR ใน Sense ที่ว่า เราต้องรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ไม่เอากระดาษทิชชูยัดใส้ลงไปในน้ำยาเหมือนที่เคยเป็นข่าว

ทำ CSR แล้วโฆษณาผิดไหม
           เราทำดีก็ต้องบอกว่าเราทำดี ไม่ต้องอาย ถ้าทำชั่วต่างหากที่ควรอาย แต่ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ บางทีเราทำดีนิดเดียว แต่โพนทะนาเสียใหญ่โต เข้าทำนอง สร้างภาพ อันนี้ก็แล้วแต่จิตสำนึกและความชาญฉลาดของฝ่ายโฆษณา ไม่อาจว่ากันได้
           แต่นั่นเป็นการทำ CSR เฉพาะใน รูปแบบการให้เท่านั้น ยังไม่เป็น CSR ที่แท้ที่รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลาย วิสาหกิจขนาดใหญ่ที่จะทำ CSR ก็ควรมีการระบุให้ชัดเจนว่าตนได้ทำอะไรในด้าน CSR ทั้งด้านสิทธิมนุษยชน การจ้างงาน สิ่งแวดล้อมและการไม่ข้อง แวะกับเรื่องสินบน เป็นต้น แสดงให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับรู้และสบายใจว่า พวก เขาไม่ได้กำลังค้าขายกับโจรเสื้อสูท

Area Trebs
 
10 ถ.นนทรี เขต.ยานนาวา, กรุงเทพมหานคร 10120 Tel.66.2295.3171 Fax. 66.2295 1154 Email: info@thaiappraisal.org; สถานที่ตั้ง: แผนที่