งานชุมนุมอสังหาริมทรัพย์โลกที่ควรไป
น.ส.ปัทมา
จันทรานุกูล <1>
รองประธานกรรมการบริหาร บจก.เอเจนซี่
ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส <2>
ในแต่ละปี มีงานประชุม สัมมนา
นิทรรศการเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ในสาขาวิชาชีพต่าง
ๆ มากมาย ควรค่าที่ผู้เกี่ยวข้องจะได้ไปสัมผัสบ้าง
และเพื่อให้เห็นภาพรวม จึงขอแจกแจงให้เห็นกิจกรรมตั้งแต่ต้นปีถึงปลายปี
เผื่อท่านใดจะไปเลือกไปงานที่เหมาะสม 22-25
มกราคม: 12th Conference of
Pacific Rim Real Estate Society ในทุกต้นปีสถาบันการศึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศริมมหาสมุทรแปซิฟิค
จะจัดประชุมกันขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการครั้งละประมาณ
50 ชิ้น ผู้เขียนได้ไปร่วมงานครั้งที่
9 ที่ไครเชิร์ช นิวซีแลนด์, ครั้งที่ 10
ที่บริสเบน และครั้งที่ 11 ที่กรุงเทพมหานคร
ในภูมิภาคอื่นก็คือสมาคมเช่นนี้ เช่น อาฟริกา
ยุโรป เอเชีย อเมริกา เป็นต้น งานนี้เหมาะกับนักวิชาการเป็นหลัก
14-17 มีนาคม: 2006 MIPIM World Market Place ถือเป็นงานนิทรรศการอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
จัดที่เมืองคานส์ (ที่ประกวดภาพยนต์ระดับโลก) ในงานยังมีการประชุมสัมมนา แต่เน้นการออกบูธของโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก
นักพัฒนาที่ดิน ควรไปร่วมงานและ roadshow ที่นี่เป็นอย่างยิ่ง แต่เฉพาะค่าเข้างานก็แพงมาก
(ไม่ใช่นิทรรศการดูฟรี) ประมาณท่านละ 60,000 บาท งานนี้ผู้เขียนไปร่วม 3 ครั้ง (2547-9)
ทุกครั้งจัดได้ตื่นตามาก ทุกครั้งมีคนเพิ่มขึ้นและมีนวัตกรรมจากทั่วโลกให้ชมเสมอ
11-13 เมษายน: IRERS 2006 (International
Real Estate Research Symposium) งานนี้เป็นงานเล็กแต่กำลังเติบโต จัดโดยสถาบันอบรมประเมินค่าทรัพย์สินภาครัฐของมาเลเซีย
จัดมาได้ 3 ครั้งแล้ว จัดทุก 2 ปี เพื่อเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศมาเลเซีย
โดยรัฐบาลของเขาสนับสนุนเต็มที่ คนไทยที่ได้รับเชิญไปร่วมเสนอบทความทางวิชาการคือ
ดร.โสภณ พรโชคชัย <3>
9-11 พฤษภาคม: 11st World Valuation
Congress งานนี้จัดทุก 2 ปีเช่นกัน ที่จริงตั้งใจจัดปีที่แล้วแต่เลื่อนมา
ทางประเทศไทยโดยมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย <4> พยายามขอเป็นเจ้าภาพเพื่อชื่อเสียงประเทศและดึงคนมาเยี่ยมชมประเทศไทย
แต่ทางมาเลเซียทุ่มหนักกว่าเลยได้ไป จะสังเกตได้ว่า ในจำนวนงานเหล่านี้ มาเลเซียและสิงคโปร์พยายามจัดอย่างมาก
หน่วยราชการทุกส่วนก็พยายามสนับสนุนเต็มที่ อย่างไรก็ตามงานนี้ทางคณะผู้จัดงานได้เชิญ
ดร.โสภณ เป็นคนไทยคนเดียวที่ไปนำเสนอบทความวิชาการ
26-31 พฤษภาคม: 57th World Congress,
FIABCI (Int'l Federation of Real Estate) FIABCI เป็นสมาคมอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกที่มีสมาชิกมากที่สุดถึงเกือบ
2 ล้านคน โดยนับรวมสมาชิกของสมาคมที่เป็นสมาชิกทั้งหมด แต่ละปีมีผู้มาร่วมงานรวมกันประมาณ
600-1,000 คน มีทั้งนักพัฒนาที่ดิน สถาบันการเงิน ผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน นายหน้า
ฯลฯ ปีนี้ประเทศไทยได้รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ <5>
7-10 มิถุนายน: 13th Annual Conference,
European Real Estate Society สมาคมนี้ก็คล้าย Pacific Rim Real
Estate Society เหมาะสำหรับนักวิชาการไปคุยกันเพื่อเป็นการยกระดับฐานะทางวิชาการทางหนึ่ง
18-21 มิถุนายน: 52nd Annual
Congress, International Right of Ways Association สมาคมนี้น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืน
ทางมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินไทย กำลังจะจัดเดินทางไปดูงาน-สัมมนาเป็นหมู่คณะ เช่น
ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและบริษัทที่ปรึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทย
26-29 มิถุนายน: Real Estate Investment
World 2006 งานนี้คล้ายกับ MIPIM ที่ฝรั่งเศส แต่มีลักษณะเด่นคือเป็นการพบปะกันระหว่างนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์
หน่วยงานที่จัดนี้ทำได้ดีมาก มีทำคล้ายกันทุกทวีป และในงานนี้ผู้สนใจเข้าร่วมสามารถสมัครผ่านมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
จะได้รับส่วนลดพิเศษ และ ดร.โสภณ ยังได้รับเชิญไปร่วมอภิปรายมา 2 ครั้งแล้ว
30 มิ.ย.-3 กรกฎาคม: 2006 AsRES International
Conference Asian Real Estate Society เป็นอีกสมาคมหนึ่งของนักวิชาการด้านอสังหาริมทรัพย์
มีการจัดประชุมทุกปี โดยอาจารย์วสันต์ คงจันทร์ แห่ง AREA ได้เคยไปร่วมงานเมื่อครั้งจัดที่กรุงนิวเดลี
(2547) นักวิชาการไม่ควรพลาด
3-5 กรกฎาคม: 14th Congress of
ASEAN Valuers Association สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งอาเซียนมีการประชุมทุก
2 ปี เป็นสมาคมที่ค่อนข้างอบอุ่น เพราะมีขนาดเล็กมีคนเข้าร่วมประมาณ 100 คน ทำให้รู้จักกันได้ทั่วถึง
ผูกมิตร สร้างเครือข่ายกันได้ผลดี ในภูมิภาคนี้ยังมี ASEAN Association for Planning
and Housing ซึ่งเป็นศูนย์รวมของนักพัฒนาที่ดินและหน่วยราชการด้านที่อยู่อาศัย แต่การประชุมปีนี้ยังไม่ได้กำหนด
เลยไม่ได้นำเสนอไว้ในที่นี้ สมาคมนี้ก็น่าติดตามเช่นกัน
16-19 กันยายน: 23rd Pan Pacific
Congress of Appraisers, Valuers and Counselors ในทุกรอบ 2 ปี ประเทศต่าง
ๆ ในเอเซียและแปซิฟิค จะมาจัดประชุมกัน สองปีก่อนจัดที่ไต้หวัน ดร.โสภณ ก็เป็นคนไทยคนเดียวที่ได้รับเชิญไปนำเสนอผลการศึกษา
สมาคมนี้เน้นไปทางนักปฏิบัติมากกว่านักวิชาการ ทำให้ได้ผูกมิตรกับผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน
นายหน้าและที่ปรึกษาได้กว้างขวางขึ้น พอดีปีนี้ Appraisal institute ซึ่งเป็นสมาคมประเมินที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพ
เลยเอางานประจำปีของตนเองมารวมไว้แน่ ทำให้งานนี้ใหญ่มากขึ้นอีก
อนึ่งในทวีปอเมริการยังมีสมาคมประเมินที่น่าสนใจหลายแห่ง
สมควรไปร่วมงานประจำปีบ้างถ้ามีโอกาส สมาคมเหล่านี้ก็เช่น American Society of Appraisers,
National Association of Independent Fee Appraisers, Appraisal Institute of Canada
เป็นต้น
8-11 ตุลาคม: 72nd International
Conference, IAAO สมาคมนี้ได้ ดร.โสภณ เป็นผู้แทนในประเทศไทย และทุกปีได้จัด
ทัวร์ ไปร่วมสัมมนาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเสียภาษีมาหลายครั้งแล้ว
และมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปหลายท่าน นอกจากนี้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีสมาคนี้ยังจัดสัมมนาพิเศษเกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองเพื่อการประเมินค่าทรัพย์สินและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ด้วย
นับเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจเรียนรู้
8-13 ตุลาคม: 23rd International
FIG Congress นี่เป็นสมาคมเกี่ยวกับวิศวกร นักสำรวจ นักประเมิน ที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ชื่อ International Federation of Surveyors (แต่ย่อตามภาษาฝรั่งเศสว่า FIG) จัดสัมมนาระดับโลกทุก
4 ปี (คล้ายฟุตบอลโลก) สัมมนาใหญ่ในปีนี้จึงน่าสนใจเป็นพิเศษ
10-13 พฤศจิกายน: 2006 REALTORS Conference
and Expo ทาง National Association of Realtors เป็นสมาคมนายหน้าที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกามีสมาชิกถึง
1.2 ล้านคน การประชุมประจำปีจะมีคนเข้าร่วมมาก เช่นปีที่แล้วสูงถึง 26,000 คน ในแง่หนึ่งก็มากไป
คุยกันไม่ได้ทั่วถึง แต่ก็น่าสนใจที่มีการแสดงสินค้านวัตกรรมที่ใช้ในด้านอสังหาริมทรัพย์มากมาย
ดร.โสภณ เป็นผู้ชักนำให้สมาคมนี้เข้ามารู้จักกับสมาคมนายหน้าไทยและสมาคมอื่นเมื่อปี
2542 และถ้ามีโอกาสสมาคมตัวแทนนายหน้ามาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกงก็มีการประชุมประจำปี
ที่ผู้สนใจอาจไปขอร่วมด้วยได้
27-29 พฤศจิกายน: 1st Annual
Congress, World Association of Valuation Organizations ขณะนี้มีการตั้งสมาคมใหม่ระดับโลกด้านประเมินค่าทรัพย์สินข้างต้น
แต่ยังมีสมาชิกน้อยเพียงสิบกว่าประเทศ แต่ก็พยายามริเริ่มให้มีการสัมมนานานาชาติ
ตอนแรกว่าจะจัดงานในเดือนพฤษภาคม แต่เตรียมการไม่ทันเลยเลื่อนไปเป็นเดือนนี้ ใครสนใจไปสิงคโปร์พอดี
ก็น่าลองไปดู
อนึ่งผู้เขียนก็คงไม่ได้แนะนำให้ทุกท่านไปร่วมทุกงาน
อาจจะแยกย้ายกันไปและแบ่งปันกันได้ อย่างเช่นที่มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยก็พยายามรวบรวมเอกสารประกอบการสัมมนาทั้งหลายมาเก็บไว้เพื่อบริการแก่ผู้สนใจโดยไม่คิดมูลค่า
และนอกจากไปร่วมงานแล้ว ก็ควรไปดูงานด้วย
เช่น ทางมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยจัดไปทุกครั้งก็ไปขอความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง
ๆ เพื่อพาคณะผู้เข้าร่วมสัมมนาไปเยี่ยมชมให้เข้าใจถึงการทำงานจริงด้วย
ที่สำคัญคือ
เราควรไปเรียนรู้โลกเพื่อนำพัฒนาวงการอสังหาริมทรัพย์ในไทย
หมายเหตุ |
|
<1> |
น.ส.ปัทมา จันทรานุกูล
จบการเงินจาก ม.กรุงเทพ และไปศึกษาประกาศนียบัตรทางการประเมินค่าทรัพย์สินจาก
LRTI-Lincoln Institute of Land Policy
และหลักสูตร CIPS (Certified International
Property Specialists) จาก National
Association of Realtors ยังเป็นรองประธาน
Agency for Real Estate Affairs อันเป็นศูนย์ข้อมูล-วิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ในไทย
Email: pattama@area.co.th |
<2> |
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์
เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (Agency for
Real Estate Affairs: AREA) เป็นองค์กรที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์
ที่ได้รับการรับรอง ISO 9001-2000
ทั่วทุกระบบรายแรกและยังเป็นรายเดียวในประเทศไทย
ให้บริการการประเมินค่าทรัพย์สินในขอบเขตทั่วอาเซียน
และการเป็นศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ที่มีฐานข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
โดยไม่ทำกิจการนายหน้าหรือพัฒนาที่ดินเองใด
ๆ เพื่อความเป็นกลางทางวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
โปรดดูรายละเอียดที่ http://www.area.co.th |
<3> |
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ
มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินไทย และขณะนี้ยังเป็นกรรมการหอการค้าไทย
สาขาอสังหาริมทรัพย์ ผู้แทนสมาคมผู้ประเมินนานาชาติประจำประเทศไทย
และกรรมการบริหาร ASEAN Association
for Planning and Housing |
<4> |
มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มุ่งให้ความรู้แก่สาธารณชนด้านการประเมินค่าทรัพย์สิน
อสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาเมือง ปัจจุบันเป็นองค์กรสมาชิกหลักของ
FIABCI ประจำประเทศไทย ถือเป็นองค์กรด้านเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่มีกิจกรรมคึกคักที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยจนได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติ
โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiappraisal.org |
<5> |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ
2006 FIABCI World Congress โดย ดร.โสภณ
พรโชคชัย ในวารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์
ตุลาคม-ธันวาคม 2548 (http://www.ghbhomecenter.com/news/journal43/78.pdf) |
|