มูลนิธิประเมินฯ,
ประตูสู่โลกกว้าง: ว่าด้วยโอแลงโด
อาคารที่ดิน อัพเกรด ประจำวันอังคารที่
21-28 มีนาคม 2549 หน้า81
น.ส.ปัทมา
จันทรานุกูล <1>
กรรมการบริหาร มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย <2>
สิบปากว่า ไม่เท่าหนึ่งตาเห็น
เป็นสัจธรรมแห่งการแสวงหาความรู้จริง โดยเฉพาะความรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มีนวัตกรรมเกิดขึ้นหลากหลายทั่วโลก
ยิ่งต้องหาโอกาสไปศึกษาให้รู้จริง กิจกรรมสำคัญหนึ่งของมูลนิธิก็คือการเป็นสะพานเชื่อมต่อความรู้กับทั่วโลกเพื่อนำมารับใช้การพัฒนาประเทศ
ในครั้งนี้มูลนิธิจึง พาทัวร์ ไปถึงเมืองโอแลงโด
มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา
ปโอแลงโด
นี่เป็นครั้งที่ 3 แล้วที่มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
พาทัวร์ เพื่อสัมมนา-ดูงานอสังหาริมทรัพย์ในต่างแดน
ครั้งก่อนไปบอสตัน (กันยายน 2547) แองเคอริจ, อลาสกา
(กันยายน 2548) และครั้งนี้ ณ เดือนกุมภาพันธ์
2549 ไปงานสัมมนาร่วมประจำปีระหว่างสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ
(iaao.org) กับสมาคมสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สหรัฐอเมริกา
(urisa.com) เรื่องการสร้างแบบจำลองการประเมินค่าทรัพย์สิน
(CAMA: computer-assisted mass appraisal) <3> -
และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS: geographical
information system)
คณะที่ไปดูงานมีผู้แทนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน
จำนวน 12 คน เช่น กรมธนารักษ์ (นำโดยคุณเทวัญ วิชิตะกุล
ท่านรองอธิบดี) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
บริษัทประเมิน โดยมี ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินไทยและผู้แทน
IAAO ในประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะคนไทยในครั้งนี้
เก็บเกี่ยวนวัตกรรมการประเมินค่าทรัพย์สิน
ประเด็นหลักที่ไปศึกษาคือ CAMA
โดยในยุคสมัยใหม่นี้ จะทำงานควบคู่กับ GIS เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โดยงานสัมมนานี้ระดมผู้รู้มาสอน มาอภิปรายกันถึง
4 วัน และยังมีนิทรรศการด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดประมาณ 400 คนจาก 8 ประเทศทั่วโลก
นอกจากนี้คณะของคนไทยยังได้รับความกรุณาเป็นพิเศษจากผู้จัดงานให้ไปดูงานการใช้
CAMA-GIS จริงในเทศบาลถึง 2 แห่ง
สำหรับเรื่อง CAMA นั้น ดร.โสภณ
พรโชคชัย ได้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี
พ.ศ. 2533 ในโครงการจัดการที่ดินเมือง ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ณ พื้นที่ทดลองถนนประชาอุทิศ ห้วยขวาง ซึ่งครั้งนั้น
ดร.โสภณ ได้มีโอกาสไปศึกษาเกี่ยวกับ CAMA จากศาสตราจารย์ของสถาบันนโยบายที่ดินลินคอล์น
(lincolninst.edu) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ ณ นครบอสตัน
สหรัฐอเมริกา
ความเป็นไปได้ในกรณีประเทศไทย
เทคโนโลยีการใช้ GIS เพื่อการประเมินค่าทรัพย์สินแบบ
CAMA มีพัฒนาการที่ดีมากในปัจจุบัน สามารถเชื่อมโยงข้อมูลทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น ภาพถ่าย วีดีทัศน์ เอกสาร ลายมือชื่ออีเล็คทรอนิกส์
รายงานประเมินค่าทรัพย์สิน แผนผัง แผนภูมิ ฯลฯ
เทคโนโลยีเช่นนี้มีทั้งแบบที่ทำสำเร็จรูปและที่สร้างกันเองก็ได้
ที่ประเทศไทยควรเรียนรู้ก็คือ นวัตกรรมการประสานเทคโนโลยีต่าง
ๆ และนำมาสร้างหรือปรับใช้ในประเทศไทยโดยไม่ไปลอกเลียนแบบมาโดยไม่ได้ศึกษาให้ดีพอ
ข้อจำกัดของไทยในการพัฒนาระบบ CAMA-GIS
อย่างขนานใหญ่ในระดับประเทศก็คือ วิสัยทัศน์
(ที่ยังไม่ยาวพอ) และ ความตั้งใจ (commitment,
ที่ยังไม่เข้มข้นพอ) ของผู้บริหารระดับสูง อย่างเช่นแผนที่ดิจิตอล
หน่วยงานในประเทศไทยต่างคนต่างทำ สิ้นเปลืองงบประมาณมากมาย
แต่ถ้าได้ทำและใช้ร่วมกันทุกหน่วยเช่นในสหรัฐอเมริกา
สิ่งต่าง ๆ ก็จะง่ายขึ้น เป็นพื้นฐานที่ดีในการประเมินค่าทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพ
และยังความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลในวงราชการไทย
เราเชื่อมเครือข่ายทั่วโลก
ที่มูลนิธิสามารถ พาทัวร์ ได้ก็เพราะว่ามูลนิธิได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติ
โดยได้ติดต่อสัมพันธ์กับนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง
วารสารราย 2 เดือนของมูลนิธิที่จัดทำเป็น 2 ภาษา
ส่งไปยังสมาคมอสังหาริมทรัพย์ประเทศต่าง ๆ ถึง
300 แห่ง นอกจากนี้ มูลนิธิยังเป็นสมาชิกขององค์กรอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก
เช่น สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ (iaao.org)
สหพันธ์อสังหาริมทรัพย์นานาชาติ (fiabci.org) หรือระดับภูมิภาค
เช่น สมาคมอสังหาริมทรัพย์อาเซียน (aaph.net) เป็นต้น
การเชื่อมโยงกันนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐาน
win-win กันทุกฝ่าย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจกันฉันมิตร
และยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยโดยรวม เพราะหลายคนในโลกนี้ยังไม่รู้จักประเทศไทยเราด้วยซ้ำ
เราควรไปศึกษาเรียนรู้ให้เกิดความรอบรู้อย่างเท่าทันเพื่อพัฒนาชาติค่ะ |