Eng
หน้าแรก เกี่ยวกับมูลนิธิ หลักการประเมินค่าทรัพย์สิน มาตรฐานจรรยาบรรณ
อัตราผลตอบแทน
มาตรฐานราคาค่าก่อสร้าง บทความความรู้ข้อแนะนำ เว็บบอร์ด ติดต่อมูลนิธิ
ดูทั้งหมด

10 ถ.นนทรี 5 ยานนาวา กทม.10120

25    ตุลาคม    2560

เรื่อง      เรื่องเท็จ: เสือป่าแม่วงก์ โปรดสนับสนุนการสร้างเขื่อนเพื่ออนุรักษ์ทุกชีวิต

กราบเรียน      พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำเนาเรียน     นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อ้างถึง   ข่าว "ดับฝันสร้างเขื่อนแม่วงก์ กรมอุทยานฯ พบเสือโคร่งเพิ่มอีก 16 ตัว" {1}

                     เนื่องด้วย ฯพณฯ ได้ไปเป็นประธานการประชุมการป่าไม้ ประจำปี พ.ศ.2560 ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามข่าวข้างต้น และมีการนำเสนอถึงการพบเสือในพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์  กระทำจึงทำหนังสือนี้มาให้ข้อมูลในทางตรงกันข้าม เพื่อท่านจะได้กำหนดนโยบายต่อทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายและที่สำคัญไม่ทำร้ายประชาชนคนเล็กคนน้อย

                     ข่าวที่ออกมาอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพื้นที่สร้างเขื่อนแม่วงก์ ดังนี้:

                     1. ที่ว่าพบเสือในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์นั้น อุทยานดังกล่าวมีพื้นที่ 558,750 ไร่ {2} ส่วนสถานที่ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์มีพื้นทื่ราว 12,375 ไร่ {3} หรือเพียง 2% ของอุทยานฯ เท่านั้น อีกทั้งยังตั้งอยู่ที่ชายขอบป่า ล้อมรอบด้วยหมู่บ้านชาวบ้านและรีสอร์ตเป็นจำนวนมาก ตามข่าวเสืออยู่ในผืนป่าตะวันตกที่มีพื้นที่นับล้านไร่ สถานที่ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์เป็นเพียง 0.1% หรือหนึ่งในพันของป่าซึ่งเป็นอดีตป่าเสื่อมโทรมที่ย้ายชาวบ้านออกมาเตรียมสร้างเขื่อนมาเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

                     2. ตามข่าวค่อนข้างขัดแย้งกันเอง โดยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์กล่าวว่า "ในพื้นที่อุทยานฯ แม่วงก์ พบว่ามีเสือโคร่งใหม่ ไม่ต่ำกว่า 10 ตัว กระจายกันอยู่ทั่วพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณที่จะก่อสร้างเป็นหัวเขื่อนแม่วงก์นั้น พบเสือโคร่ง ถึง 2 ตัว. . .ด้าน น.ส.รุ้งนภา (นักวิจัย) กล่าวว่า. . .มีเสือโคร่งตัวเต็มวัยได้ขยายพื้นที่ออกมายังอุทยานฯ แม่วงก์ จำนวน 2 ตัว. . ."  ทั้งนี้สรุปว่านักวิจัยไม่ได้ระบุว่าพบตัวในบริเวณที่จะก่อสร้างเขื่อน และในความเป็นจริงคงเป็นไปได้ยาก แม้แต่ภาพก็ไม่มีแสดงให้ประจักษ์  เพราะบริเวณนั้นมีชาวบ้านอยู่เป็นจำนวนมาก และยังมีพื้นที่กางเต็นท์อีกด้วยซึ่งควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยจากสัตว์ป่า จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีเสือมาในบริเวณนั้น

                     3. ภาพต่างๆ ที่แสดงออกมักเป็นภาพบิดเบือน เช่น ภาพเสือแม่ลูก ซึ่งคงถ่ายจากป่าลึกที่ต้องเดินเท้าหลายวัน เสือพร้อมลูกเล็กๆ คงไม่สามารถเดินทางมาถึงชายป่า หรือหากเดินทางมาถึง คงไม่รอดน้ำมือของมนุษย์อย่างแน่นอน หรือภาพเสือใหญ่ในป่าลึก หรือบนเขาสูง ซึ่งคงไม่ใช่ในที่ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์อย่างแน่นอน ถ้ามีร่องรอยเสือจริง ประชาชนในพื้นที่คงผวาและออกตามล่าเพื่อว่าจะไม่ถูกเสือล่าดัวข่าวที่เกิดขึ้นในที่อื่นๆ {4}

                     3. ธรรมชาติของเสือนั้น เสือตัวหนึ่งมีพื้นที่หากินตั้ง 100 ตารางกิโลเมตร {5} ถ้ายกพื้นที่กรุงเทพมหานครขนาด 1,568 ตารางกิโลเมตร คงให้เสืออยู่ได้แค่ 16 ตัวเท่านั้น แต่กรุงเทพมหานครมีคนอยู่ถึง 6 ล้าน ในสหรัฐอเมริกามีเสือเลี้ยง (ไม่ได้อยู่ในป่า) มากกว่า 5,000 ตัว {6}  เสืออายุสั้นเพราะกินสัตว์ เสือที่เราเห็นแข็งแรงกว่าคนเรามากมายนั้นมีอายุเพียง 16 ปีในป่า แต่ถ้าเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์ (เปิด) ก็จะมีอายุได้ถึง 26-30 ปี {7} สำหรับเสือโคร่งส่วนใหญ่ในป่าของไทยประเทศไทยตายด้วยโรคพยาธิและโรคติดเชื้อ {8}

                     รัฐบาลพึงคิดในแนวใหม่ที่มีบูรณาการว่าการสร้างเขื่อนแม่วงก์ไม่ใช่การทำลายธรรมชาติ แต่หากมีเขื่อน มีน้ำมากขึ้น ก็จะทำให้พื้นที่โดยรอบเขียวชอุ่มกว่าปัจจุบันหลายเท่าตัว ป่าไม้ก็จะอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าก็จะมีอาหารมากขึ้น มีน้ำสำหรับดับไฟป่าในบริเวณนี้ที่เกิดขึ้นปีละนับร้อยครั้ง การมีเขื่อนจึงจะเป็นประโยชน์ต่อสัตว์ป่าและป่าไม้โดยตรง การพยายามเร่งรัดปลูก/ฟื้นฟูในบริเวณที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์ เพียงเพื่อต่อต้านการสร้างเขื่อนนั้น เป็นการนำทรัพยากรไปใช้อย่างสูญเปล่า และไม่ได้เห็นแก่สัตว์ป่าอย่างแท้จริง ยิ่งกว่านั้นยังเปิดโอกาสให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเองดังที่เคยเป็นข่าวคราวอยู่เสมอ ๆ {9}

                     ที่สำคัญที่สุดก็คือรัฐบาลต้องเห็นใจประชาชนคนเล็กคนน้อย ที่ส่วนใหญ่ถึง 79% ต้องการให้มีเขื่อนไว้ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ฝนแล้ง ช่วยในการชลประทาน ผลิตไฟฟ้า ผลิตน้ำประปาได้ ทำการประมง การท่องเที่ยว การที่ไม่มีเขื่อนมาเป็นเวลานานถึงกว่า 30 ปี ทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น ฝายที่พยายามสร้างทดแทนไร้ประสิทธิภาพ ประชาชนต้องขุดบ่อบาดาลเอง โดยเสียค่าใช้จ่ายนับหมื่นๆ บาท น้ำที่ได้ก็มีสนิม ไม่อาจดื่มได้ {10} ในกรณีน้ำท่วม ชาวนาก็ต้องรีบเกี่ยวข้าวขายขาดทุนเหลือเกวียนละ 3,000-4,000 บาท แต่ละปีรัฐบาลต้องชดเชยให้ประชาชนในพื้นที่จากภัยแล้งและน้ำท่วมหลายร้อยล้านบาทต่อปี หากนำเงินเหล่านี้มาสร้างเขื่อนก็คงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ประชาชน ซึ่งหากประชาชนมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ก็ยิ่งจะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศชาติได้มากกว่านี้

                     จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้

ด้วยความเคารพ
(ดร.โสภณ พรโชคชัย)

 

อ้างอิง

{1} http://bit.ly/2izelpX

{2} http://bit.ly/2yLwkgW

{3} http://bit.ly/2yME4kC

{4} http://bit.ly/1jJpUpA http://bit.ly/1VYQE1u และ http://bit.ly/25hZ4Zn

{5} ชีววิทยาของเสือโคร่ง www.dnp.go.th/wildlifednp/index.php?option=com_content&view=article&id=36:2010-07-22-09-05- และ Tigers' habitat http://www.lions.org/tiger-habitat.html

{6} More Tigers in American Backyards than in the Wild. www.worldwildlife.org/stories/more-tigers-in-american-backyards-than-in-the-wild

{7} เสือโคร่ง www.verdantplanet.org/catsoftheworld/cat_tiger.php

{8} Tigers Life Cycle www.tigers.org.za/tigers-life-cycle.html#.VFrQDaI5Oic

{9} แอบตัดไม้ทำลายป่าโดยเจ้าหน้าที่ด้านป่าไม้และอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ (http://bit.ly/2yw8nwD http://bit.ly/1SPdr3x http://bit.ly/2xUjHDb http://bit.ly/1Tkdeoy http://bit.ly/2gxSezN เป็นต้น)

{10} http://goo.gl/7h8Ljk

Area Trebs